วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เชิญเลือกซื้อปัจจัยทางการผลิต อาทิ ปุ๋ยเคมีตรากระต่าย ปุ๋ยเคมีตราม้าบิน ปุ๋ยเคมีตรารถเกษตรและยาเคมีหลากหลายยี่ห้อ


 ท่านใดมีสินค้าวางขาย แต่ไม่มีหน้าร้านในอินเตอร์เน็ต ผมขอแนะนำ www.0879181778.blogspot.com  เข้าสมัครใช้งานได้ฟรี http://www.blogger.com   ขั้นตอนวางซอสโค๊ดในเว็ปไซต์ประเภทบล๊อกbloggerศึกษาได้จาก: http://www.youtube.com/watch?v=_TQovonBRXU  แต่ถ้าท่านต้องการสลับซ้อน หรือ ขั้นสูงกว่า ปรึกษาเราได้   ค่าใช้จ่ายไม่มีรายปี  
คำถามฮิตๆ
เว็ปไซต์ประเภทบล็อก (www.blogger.com) ไม่เท่ห์  ชื่อก็ยาว   จำยาก ลูกค้าคงเข้าน้อย 
คำตอบ
สมัยนี้ไม่มั่วมา เวอร์ วาย เว็ป แล้วค่ะ  หาคำว่า  ป.เคมีภัณฑ์  หรือ ราคาปุ๋ยเคมีวันนี้ หรือ ราคายูเรีย  เราสามารถฝังคำค้นหาได้เยอะๆๆๆๆ กันแล้วค่ะ  ท่านสามารถเช็คคำค้นหาแต่วันทั่วประเทศไทยได้ เช็คสถิติรายวันได้ เช็คพื้นที่เข้าชมได้
คำถามฮิตๆ
เซฟเวอร์พังง่ายไหม   ตอนเที่ยงคืน หรือ ตอนไหนๆ ก็เข้าไหมได้  หรือ ใช้ได้ทั้งปีไหม?
คำตอบ
เซฟเวอร์ของกูเกิล(google) มีระบบแจ้งการเสียล่วงหน้าของอุปกรณ์  1-3วันให้เปลี่ยน และมีทีมงานหัวกระทิทั่วโลก ทำงานอยู่  เซฟเวอร์ราคา 10 ล้านดอลล่า(us) ไม่มีราคา 5หมื่นบาทเหมือนของพี่ไทยแน่นอน
ถ้าเริ่มสนใจวางระบบกับเรา ติดต่อกับโปรแกรมด้านล่างค่ะ
ปุ๋ย-ธาตุอาหารของพืช มีทั้งหมด ๑๗ ธาตุแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้
๑. จากธรรมชาติ น้ำและอากาศ.............. คาร์บอน (C).......... ไฮโดรเจน(H).......... ออกซิเจน(O)
๒. ธาตุอาหารหลัก(Macronutrients).. ไนโตรเจน(N)....... ฟอสฟอรัส(P)........ โพแทสเซียม(K)
๓. ธาตุอาหารรอง(Secondary nutrients).... แคลเซียม(Ca)..... แมกนีเซียม(Mg)..... กำมะถัน(S)
๔. จุลธาตุ(Micronutrients or trace elements)..... สังกะสี(Zn)..... เหล็ก(Fe)..... แมงกานีส(Mn)..... โบรอน(คำอธิบาย: http://www.taba.or.th/components/com_kunena/template/default_ex/images/thai/emoticons/cool.png.... ทองแดง(Cu)..... คลอรีน(Cl)..... โมลิบดินัม(Mo)..... นิคเกิ้ล(Ni)

ไนโตรเจน (N) พืชใช้ในการเจริญเติบโตทางกิ่ง ก้าน ใบ (vegetative growth) เน้นใช้ยูเรีย(CO(NH2)2)เมื่อต้องการเร่งแรงๆ แอมโมเนียม(NH4+)ใช้ในช่วงการติดดอกออกผล ไนเตรต(NO3-)ใช้สำหรับคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว

ฟอสฟอรัส (P) เน้นให้พืชในระยะแรกเพื่อเพิ่มการเจริญของระบบราก (plant starter) พืชจะตั้งตัวได้เร็ว ระบบรากที่ดีก็จะช่วยหาอาหารได้มากขึ้น ในช่วงทำดอกเราใช้ฟอสฟอรัสสูงๆเพื่อกดไนโตรเจน ซึ่งเป็นวิธีปกติที่พวกเราชอบใช้ เพราะในช่วงเร่งการเจริญเติบโตเรามักจะชอบเหยียบ ๑๘๐ พอจะหยุดก็เลยต้องเบรคแรงๆหน่อย ใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูงๆที่มีราคาแพงกว่าตัวอื่น

โพแทสเซียม (K) เปรียบเหมือนเป็นพ่อบ้านใหญ่ เพราะเป็นตัวควบคุมระบบต่างๆในต้น

ถ้าเป็นละคร [b[color=#0000BF]]NPK[/color][/b] ก็เป็นเหมือนตัวพ่อตัวแม่

ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ..... แคลเซียม (Ca)ตัวพระเอก..... แมกนีเซียม (Mg)ตัวพระรอง..... โบรอน (คำอธิบาย: http://www.taba.or.th/components/com_kunena/template/default_ex/images/thai/emoticons/cool.pngตัวนางเอก จุลธาตุที่เหลือก็เป็นผู้ช่วยพระเอกนางเอก ขาดไม่ได้เดี๋ยวละครไม่สนุก

แคลเซียม (Ca) ช่วยเรื่องโครงสร้าง พืชจะแข็งแรงแค่ไหนก็ดูจากตัวนี้ เปรียบเหมือนเราสร้างรั้วล้อมบ้านตรงไหนอ่อนปูนตรงนั้นก็เป็นจุดอ่อน แต่พืชเจริญเติบโตทุกด้านตลอดเวลา การให้จึงเน้นให้น้อยๆแต่บ่อยๆครั้ง โครงสร้างที่แข็งแรงไม่มีจุดอ่อน ก็จะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมได้ดี ทนร้อนทนแล้ง ทนฝนทนหนาว ดอกไม่ร่วงไม่ฝ่อ อื่นๆอีกมากมาย

แมกนีเซียม (Mg) เป็นแกนกลางของคลอโรฟิลล์ ส่วนที่เป็นสีเขียวเป็นตัวจับพลังงานเพื่อปรุงอาหารเปลี่ยนน้ำและอากาศให้ เป็นแป้งและน้ำตาล แต่การสร้างคลอโรฟิลล์ต้องมีผู้ช่วยพระเอกนางเอกเป็นตัวเร่งขาดไม่ได้(คลอโร ฟิลล์ ๑ โมเลกุล มีแมกนีเซียม ๑ อะตอมเป็นแกนกลาง ไนโตรเจน ๔ อะตอมและCHO อีกหลายสิบอะตอม แต่การสังเคราะห์ต้องใช้เหล็กเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา)
โบรอน (คำอธิบาย: http://www.taba.or.th/components/com_kunena/template/default_ex/images/thai/emoticons/cool.png ทำงานคู่กับพระเอก เน้นในเรื่องการติดดอก ออกผล ฝักจะติดดีมีเมล็ดเต็มสมบูรณ์ เมล็ดงอกดีไม่มีฝ่อ คุณภาพหลังเก็บเกี่ยวดี
ผู้ช่วยพระเอกนางเอก กำมะถัน สังกะสี เหล็ก แมงกานีส ทองแดง คลอรีน เน้นในเรื่องสีสันสดใส รสชาติดี มีความสมบูรณ์
เฉพาะโมลิบดีนัมและ[b][color=#BF00FF] นิคเกิล[/color]/b] ที่พวกเรานิยมใช้ในช่วงหลัง เนื่องจากเราเร่งด้วยไนโตรเจนมากๆ ๒ตัวนี้จะไปช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนได้ดีขึ้น(โมลิบดินัม กระตุ้นเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตส นิคเกิล กระตุ้นเอนไซม์ยูรีเอส) มีข้อน่าเป็นห่วงที่พืชต้องการน้อยมากๆ แต่ในผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายในปัจจุบันทุกคนจะบอกว่ามีและมี%สูงๆ กลัวว่าถ้าใช้ต่อเนื่องจะเกิดเป็นพิษ(phytotoxic) และไม่รู้ว่าเกิดจาก สาเหตุอะไร ขอให้ระวัง
หัวใจของธาตุอาหารต่างที่เราต้องรู้

ชื่อธาตุ(ทั้งไทยและอังกฤษ)............สัญลักษณ์............น้ำหนักอะตอม(น้ำหนักตัว)..........รูปที่พืชดูดไปใช้

คาร์บอน...............Carbon...........C.............12.......................CO2
ออกซิเจน..............Oxygen.............O..................16...............O2,..... H2O
ไฮโดรเจน.............Hydrogen..........H...........1................H2O

ไนโตรเจน............Nitrogen.....................N...................14.................NO3-,.....NH4+
ฟอสฟอรัส...........Phosphorus...............P......................31................H2PO4-,.....HPO4--
โพแทสเซียม........Potassium..................K.....................39.................K+

แคลเซียม..............Calcium.....................Ca..................40....................Ca++
แมกนีเซียม............Magnesium.............Mg...................24.....................Mg++
กำมะถัน................Sulphur......................S.....................32...................SO3--,.....SO4--

สังกะสี..................Zinc........Zn................65.5......... Zn++
เหล็ก.....................Iron..................Fe...............56.........................Fe++
แมงกานีส..............Manganese............Mn...........55.........Mn++
โบรอน..................Boron...........B...............11.....................H3BO3
ทองแดง...............Copper.....................Cu.........63.5.........Cu++
คลอรีน.................Chlorine............Cl............35.5..........Cl-
โมลิบดินัม............Molybdenum..........Mo............96.................MO4--
นิคเกิล..................Nickel.......................Ni.............58.7..............Ni++

สิ่งที่เอามาแนะนำคือข้อมูลเบื้องต้นที่เราควรรู้ เรียกชื่อให้ถูก เขียนสัญลักษณ์ให้เป็น รู้น้ำหนักตัวของแต่ละธาตุ จะช่วยให้เราคำนวณหา%เนื้อในองค์ประกอบได้ ธาตุเดี่ยวๆที่มีประจุ ++ เป็นกลุ่มโลหะสามารถทำเป็นรูปคีเลท ( Chelate )ได้ กลุ่ม +/- อื่นๆแสดงให้เรารู้ว่าเป็นกรดหรือด่าง และเป็นการสื่อให้เรารู้ว่าเค้าจะจับกันเป็นรูปแบบไหน

ปุ๋ย เป็นเกลือของธาตุที่เกิดจากกรดและด่างทำปฏิกิริยากัน ที่นิยมเอามาใช้ เช่น

กรดเกลือ ( HCl.....Hydrochloric acid ).........เป็นเกลือคลอไรด์ ( Chloride ) เช่น
โพแทสเซียมคลอไรด์.............( KCl.....0-0-60 + Cl 47% )

กรดฟอสฟอริก ( H3PO4.....Phosphoric acid ).....เป็นเกลือฟอสเฟต ( Phosphate ) เช่น
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต.....( NH4H2PO4.....12-60- 0 )
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต.........( (NH4)2HPO4.....20-50-0 )
โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต....( KH2PO4.....0-52-34 )
ไดโพแทสเซียมฟอสเฟต........( K2HPO4.....0-42-56 )

กรดกำมะถัน ( H2SO4 .....Sulfuric acid ).....เป็นเกลือซัลเฟต ( Sulphate ) เช่น
โพแทสเซียมซัลเฟต...............( K2SO4.....0-0-50 + S 18% )
แคลเซียมซัลเฟต....................( CaSO4....Ca 29% + S 23% )

กรดไนตริก ( HNO3.....Nitric acid ).....เป็นเกลือไนเตรท ( Nitrate ) เช่น
โพแทสเซียมไนเตรท..............( KNO3.....13-0-46 )
แคลเซียมไนเตรท...................( Ca(NO3)2.....15-0-0 + Ca 19% )
แมกนีเซียมไนเตรท................( Mg(NO3)2.....11-0-0 + Mg 10% )

เรื่องของปุ๋ยจริงๆแล้วก็ไม่ได้มีมากกว่านี้ ค่อยๆอ่าน ทำความเข้าใจไปทีละขั้น สิ่งที่เราต้องรู้ต่อคือสูตรโครงสร้างของเกลือแต่ละชนิด การอ่านชื่อให้ถูกต้อง (ย้อนไปดูที่ผ่านมา)  ตัวเลข 3 ชุดที่อยู่บนฉลากหมายถึงอะไร ขอยกตัวอย่าง
ตัวเลข 3 ชุดที่อยู่บนฉลาก เช่น 20-20-20 หมายถึงปุ๋ยนั้น 100 หน่วยน้ำหนัก มีธาตุอาหาร
ในรูปไนโตรเจน.........โดยคิดจากปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ( Total N )..........อยู่ 20 หน่วยน้ำหนัก
ในรูปฟอสฟอรัส.........โดยคิดจากฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ( Available P2O5 )..........อยู่ 20 หน่วยน้ำหนัก
ในรูปโพแทสเซียม......โดยคิดจากโพแทสเซียมที่ละลายน้ำ ( Water soluble K2O )..........อยู่ 20 หน่วยน้ำหนัก

รูปของปุ๋ยที่เราใช้กันทางการเกษตร.....หลักๆก็มี

1.
ปุ๋ยเม็ด ( Granular fertilizer ) เป็นปุ๋ยที่ใช้ใส่ให้พืชทางดิน แม่ปุ๋ยที่ใช้เป็นเกลือคลอไรด์ เกลือฟอสเฟต เกลือซัลเฟต เกลือไนเตรท และยูเรีย

2.
ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยให้ทางใบ ปุ๋ยทางระบบน้ำ ( Foliar or Fertigation fertilizer ) เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำ แล้วฉีดพ่นไปบนพืชหรือให้ไปทางระบบรดน้ำ ปกติปุ๋ยเกล็ดโดยทั่วไปจะละลายน้ำได้ประมาณ 400 กรัม/น้ำ 1 ลิตร ที่ 20 องศาเซลเซียส แม่ปุ๋ยที่ใช้เป็น เกลือฟอสเฟต เกลือซัลเฟต เกลือไนเตรท และ ยูเรีย

3.
ปุ๋ยน้ำ ( Liquid fertilizer ) เป็นการใช้ปุ๋ยเกล็ดมาละลายน้ำ ใช้ฉีดพ่นหรือให้ไปทางระบบน้ำได้เหมือนกัน แต่เนื้อปุ๋ยในปุ๋ยน้ำจะต่ำกว่าปุ๋ยเกล็ด เพราะขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายตัวของแม่ปุ๋ยที่นำมาใช้ ข้อเสียเปรียบคือ เนื้อปุ๋ยต่ำกว่า ต้องมีภาชนะบรรจุเฉพาะ เปลืองพื้นที่ในการขนส่ง ราคาต่อหน่วยเนื้อปุ๋ยแพงกว่า

4.
ปุ๋ยควบคุมการละลาย ( Control release fertilizer ) เป็นการนำปุ๋ยเกล็ดมาเคลือบด้วยสารต่างๆ เพื่อควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยออกมา โดยปกติทั่วไปจะปลดปล่อยมากน้อยขึ้นกับความชื้นหรืออุณหภูมิ เช่น ออสโมโคทขึ้นกับความชื้น เทอร์โมโคทขึ้นกับอุณหภูมิ

เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมปุ๋ยถึงมีสูตรอย่างนั้นอย่างนี้ เนื้อปุ๋ยก็ไม่เต็มร้อย แล้วทีเหลือคืออะไรหายไปไหน

ยูเรีย.......................................CO(NH2)2.............46-0-0
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต........NH4H2PO4...........12-60-0
โพแทสเซียมไนเตรท................KNO3...................13-0-46
จากหัวใจของธาตุอาหาร สิ่งที่เน้นย้ำว่าเราจะต้องรู้ต้องจำก็คือ สัญญลักษณ์ น้ำหนักอะตอม เราจะใช้ทั้งสองสิ่งนี้มาหาว่าปุ๋ยแต่ละตัวมีสูตรถูกต้องตามที่ควรเป็นหรือไม่
C = 12..........H = 1...........O = 16
N = 14..........P = 31.........K = 39

ยูเรีย.....CO(NH2)2 = 12+16+(14+14+1+1+1+1) =..60..หน่วยน้ำหนัก
ยูเรีย..... 60..หน่วยน้ำหนัก..มี..N.....=.... 28................................................. หน่วยน้ำหนัก
ยูเรีย....100..หน่วยน้ำหนัก..มี..N.....=.. 28x100/60..=...............46.66...... หน่วยน้ำหนัก
ยูเรีย..มีสูตร..... 46-0-0
ส่วนที่เหลือก็คือ น้ำหนักของ C....H....O ที่อยู่ในองค์ประกอบนั่นเอง

โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต.....NH4H2PO4 = 14+4+2+31+64 = 115 หน่วยน้ำหนัก

โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต....115,,หน่วยน้ำหนัก..มี..N..=..14................................................ หน่วยน้ำหนัก
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต....100..หน่วยน้ำหนัก..มี..N..=..14x115/100....=............12.71.. หน่วยน้ำหนัก

โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต....115..หน่วยน้ำหนัก..มี..P..=..31................................................. หน่วยน้ำหนัก
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต....100..หน่วยน้ำหนัก..มี..P..=.. 31x100/115..=...............26.95..หน่วยน้ำหนัก

ในสูตรปุ๋ยเราคิด P ในรูป P2O5 เพราะฉะนั้น P2O5 = Px2.29 = 26.95x2.29 = 61.73 หน่วยน้ำหนัก

โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต มีสูตร..... 12-60-0


โพแทสเซียมไนเตรต.....KNO3 = 39+14+48 = 101 หน่วยน้ำหนัก

โพแทสเซียมไนเตรต....101..หน่วยน้ำหนัก..มี..N..=..14........................................................... หน่วยน้ำหนัก
โพแทสเซียมไนเตรต....100..หน่วยน้ำหนัก..มี..N..=..14x101/100........................=....13.86..หน่วยน้ำหนัก

โพแทสเซียมไนเตรต....101..หน่วยน้ำหนัก..มี..K..=..39............................................................ หน่วยน้ำหนัก
โพแทสเซียมไนเตรต....100..หน่วยน้ำหนัก..มี..K..=..39x101/100.........................=.... 38.6.. หน่วยน้ำหนัก

ในสูตรปุ๋ยเราคิด K ในรูป K2O เพราะฉะนั้น K2O = Kx1.2 = 38.6x1.2 = 46.33 หน่วยน้ำหนัก

โพแทสเซียมไนเตรต มีสูตร.....13-0-46


ย้อนกลับไปดูปุ๋ยที่ให้ไว้แล้วลองแทนค่าคิดดูว่า ใกลัเคียงตามสูตรที่ระบุไว้หรือไม่ ถ้าเรียกชื่อได้ เขียนสูตรโครงสร้างถูก ก็คิดสูตรปุ๋ยได้ ลองทำดู ยิ่งรู้ยิ่งเข้าใจก็ดีกับเรา ใครระบุสูตรผิดไปก็ให้เขาแสดงให้ดู จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ เรียกราคาสูงเกินจริงผสมปุ๋ยใช้เองประหยัดกว่า

หลังจากเราลองปรับสูตรปุ๋ยใช้กันแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะอึดอัดใจเนื่องจากว่าไม่สามารถจะปรับสูตรให้ตรงกับความต้องการ ในที่นี้ขอแนะนำวิธีคำนวณให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่เราต้องการ และสูตรสำเร็จที่จะนำไปใช้ ใครอยากจะได้สูตรพิเศษอย่างไรก็คำนวณใช้กันเอาเอง ส่วนคนที่มีปัญหาก็โทรมาคุยกัน

ในการผสมปุ๋ยใช้เอง ขอให้ชั่ง ขอให้ตวงตามน้ำหนักที่ต้องการ เพราะการผสมปุ๋ยครั้งละมาก ๆ แล้วเก็บไว้ใช้อาจจะก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากแม่ปุ๋ยที่เรานำมาใช้ผสมส่วนใหญ่จะมีขนาดเม็ดไม่เท่ากัน เมื่อผสมแล้วทิ้งเอาไว้ แม่ปุ๋ยเม็ดละเอียดก็จะจมอยู่ก้นถุง แม่ปุ๋ยเม็ดใหญ่ก็จะลอยอยู่หน้า เวลาใช้ถ้าเราไม่คลุกเคล้าให้ดี ตักข้างบนก็ได้สูตรหนึ่ง ตักตรงกลางก็ได้สูตรหนึ่ง ตักข้างล่างก็ได้อีกสูตรหนึ่ง เพราะฉนั้นชั่งปุ๋ยให้พอใช้เป็นคราว ๆ ไปจะดีที่สุด

แม่ปุ๋ยที่เรานำมาใช้ก็เป็นแม่ปุ๋ยเดียวกับที่เราใช้ปรับสูตรนั่นเอง ไหน ๆ ก็ต้องซื้อหาแม่ปุ๋ยมาแล้วก็ผสมใช้เองเสียเลย จะได้ประหยัดยิ่งขึ้นและยังทำสูตรได้ตามที่ต้องการอีกด้วย ขอทบทวนแม่ปุ๋ยที่เราจะใช้

ยูเรีย..............................................46 - 0 - 0
แอมโมเนียมซัลเฟต........................21 - 0 - 0
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต.............12 - 60 - 0
โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต.............0 - 52 - 34
โพแทสเซียมไนเตรท.....................13 - 0 - 46
โพแทสเซียมซัลเฟต.......................0 - 0 - 50

จากเรื่องธาตุอาหารของพืช เราได้รู้ว่า

รูปของไนโตรเจน พืชนำไปใช้มี 3 รูป คือ แอมโมเนียม ไนเตรท และยูเรีย ในสูตรปุ๋ยเราเรียกว่า.....ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ( TOTAL N )
ส่วนฟอสฟอรัส เราคิดจาก........................................................................................................ปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ( AVAILABLE P2O5 )
โพแทสเซียม ก็มาจาก...............................................................................................................ปริมาณของโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ ( WATER SOLUBLE K2O )

เราก็ดูว่าต้องการปุ๋ยสูตรอะไร ต้องใช้แม่ปุ๋ยอะไรบ้าง
เราต้องการปุ๋ยสูตร 20-20-20 ก็เลือกแม่ปุ๋ยมาแล้วคำนวณ โดยให้คัดจากแม่ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นสูงที่สุด - ลงไปหาตัวที่ต่ำที่สุด

เราเลือก 12-60-0 มา เพื่อจะมาคิดจำนวน P2O5 ให้ได้ 20
..................
ปุ๋ย..P2O5........60..กรัม......มาจากแม่ปุ๋ย..12 - 60 - 0.....=.....100............................กรัม
ต้องการ......ปุ๋ย..P2O5........20..กรัม......ต้องใช้แม่ปุ๋ย..12 - 60 - 0.....=.....100 x 20/60.....=....33.33..กรัม

....................................................................
เพื่อให้การชั่งง่าย ปัดเศษเป็นจำนวนเต็ม....=....34.0..กรัม

แต่ในแม่ปุ๋ย.. 12-60-0....มี N ในรูปแอมโมเนียมอยู่ด้วย
.................
แม่ปุ๋ย..12-60-0.....100..กรัม.............มี.....NH4+-N..=.....12......................................กรัม
.................
แม่ปุ๋ย..12-60-0.......34..กรัม........จะได้.....NH4+-N..=.....12 x 34/100.....= ....4.08.. กรัม


.........................
จำนวนกรัม.......................N...........................P2O5...........K2O
....................................................NH4+.....NO3-.....
ยูเรีย
12 - 60 - 0............34.0..............4.08.....................................20


จากนั้นก็มาดูตัว..K2O..........เราใช้แม่ปุ๋ย 13-0-46
..................
ปุ๋ย..K2O...........46..กรัม.......มาจากแม่ปุ๋ย..13 - 0 - 46.....= .....100...............................กรัม
ต้องการ......ปุ๋ย..K2O............20..กรัม.......ต้องใช้แม่ปุ๋ย..13 - 0 - 46....=.....100 x 20/46.....=....43.08..กรัม

...........................................................................................
ปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม...=....44.0...กรัม

ในแม่ปุ๋ย 13-0-46....มี..N..ในรูปไนเตรทอยู่ด้วย
............
แม่ปุ๋ย..13-0-46....100..กรัม.............................มี..NO3--N.....=.....13.................................กรัม
............
แม่ปุ๋ย..13-0-46......44..กรัม.......................จะได้.. NO3--N.....= ....13 x 44/100.....=....5.72..กรัม


...........................
จำนวนกรัม.....................N..........................P2O5...........K2O
.....................................................NH4+.....NO3-.....
ยูเรีย
12 - 60 - 0............34.0...............4.08.......................................20
13 - 0 - 46............44.0...............................5.72.........................................20


เราได้.....NH4+.-N....จาก..12-60-0........4.08..กรัม
และได้....NO3--N......จาก..13-0-46........5.72..กรัม
.......................................................................................
รวม..=..........9.80..กรัม
...............................
ต้องการ....N ....เพิ่มอีก......20..-..9.80......=......10.20..กรัม

ในที่นี้เราใช้..N..ที่เหลือ..จาก....ยูเรีย 46-0-0
.............
ปุ๋ย..N.............46..กรัม......มาจากแม่ปุ๋ย..46-0-0.....=.....100...................................กรัม
องการ....ปุ๋ย..N............10.20..กรัม.....ต้องใช้..... 46-0-0.....=.....100 x 10.20/46 = 22.17 กรัม

...............................................................................................
ปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม...=.....22.0..กรัม

............................
จำนวนกรัม.....................N..........................P2O5...........K2O
.................................................NH4+.....NO3-.....
ยูเรีย
12 - 60 - 0..............34.0.............4.08......................................20
13 - 0 - 46..............44.0...........................5.72...............................................20
46 - 0 - 0................22.0..........................................10.2


สำหรับปุ๋ย สูตร 20-20-20 จำนวน 100 กรัม

เราต้องใช้.....แม่ปุ๋ย..12-60-0.....จำนวน.....34..กรัม
....................
แม่ปุ๋ย..13-0-46.....จำนวน.....44..กรัม
..................
และยูเรีย..46-0-0.....จำนวน.....22..กรัม

ถ้าเราต้องการปุ๋ยสูตร 20-20-20 กี่กิโลกรัมก็คูณเพิ่มเข้าไป


ในที่นี้ได้แนบสูตรปุ๋ยที่สอบถามดูแล้วว่าเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ มาเป็นตัวอย่าง ใครอยากได้อะไรพิเศษก็ลองคำนวณดูกันเอาเอง
ใช้แล้วได้ผลประการใด อย่าลืมโทรมาบอกกันบ้าง จะได้ช่วยเผยแพร่ หรือใครใช้อยู่แล้วอยากจะบอกเพื่อน ๆ ว่าผสมปุ๋ยใช้เองดีอย่างไร ก็เขียนมาเล่ากันบ้าง

***
มีข้อมูลอยากบอก มีข้อสงสัยอยากถาม ก็โทรมาคุยกัน สุรชัย ซอปิติพร 08 1838 7587
บริการให้คำปรึกษา เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย โรค แมลง


....................... 12-60-0.....13-0-46.....46-0-0.............NH4+.......NO3-.....UREA

20-20-20............340............440...........220.................4.08.......5.72......10.12
21-21-21............350............460...........240.................4.20.......5.98......11.04

30-10-10............170............220...........550.................2.04.......2.86.......25.30
30-20-10............340............220...........500.................4.08.......2.86.......23.00
28-14-14............240............310...........460.................2.88.......4.03.......21.16

10-20-30............340............660............. - ..................4.08.......8.58......... -
15-15-30............250............660.............80.................3.00.......8.58.........3.68
16-8-32..............140............700...........120.................1.68.......9.10.........5.52
20-10-30............170............660............210................2.04.......8.58.........9.66
16-21-27............350............590..............90................4.20.......7.67.........4.14

13-40-13............670............290..............50................8.04.......3.77.........1.38
10-30-20............500............440.............. - ..................6.00.......5.72........... -
15-30-15............500............330............110................6.00.......4.29..........5.06
6-32-32..............540............640 (0-0-50).. - ..............6.48......... - ............... -
10-52-10............870............200 (0-0-50).. - ............10.44......... - ............... -
10-52-17............870............350 (0-0-50).. - ............10.44......... - ............... -