วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

เดินทางปลอดภัยกับออร์แกนิคไรซ์สิงห์บุรีตลาดข้าวสารยังกว้างขวาง

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com
 “เรื่องรายได้” อย่านิ่งนอนใจกับรายได้เพียงทางเดียว ควรลงทุนเพื่อสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
“เรื่องใช้จ่าย” ถ้าคุณมัวแต่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่นานคุณจะต้องขายสิ่งที่จำเป็น
“เรื่องการเก็บออม” อย่ารอเก็บเงินออมหลังจากใช้จ่าย จงใช้จ่ายจากเงินที่เหลือจากการออม
“เรื่องความเสี่ยง” อย่าวัดความลึกของแม่น้ำโดยใช้เท้าทั้งสองข้าง
“เรื่องการลงทุน” อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเพียงใบเดียว
“เรื่องความคาดหวัง” ความซื่อสัตย์คือของขวัญอันล้ำค่า จงอย่าหวังจะได้มันจากคนที่ไร้ค่า
คมความคิด จาก Warren Buffet


ใบเสนอราคาข้าวสารปลอดสารพิษอินทรีย์   จำนวน 3,500 กิโลกรัม/เที่ยว
ขนิดข้าวสาร
ราคาส่งยี่ปั๊ว
ราคาซาปั๊ว
ราคาปลีก
หมายเหตุ
ข้าวหอมมะลิ
 XX (3,500ถุง)
XX(1,00ถุง)
60(ตามสถานการณ์จริง)
งบลงทุนXXXXXX
ข้าวหอมนิล
XX(3,500ถุง)
XX (1,00ถุง)
90(ตามสถานการณ์จริง)
งบลงทุนXXXXXX
ข้าวไรซ์เบอรี่
XX(3,500ถุง)
XX (1,00ถุง)
90(ตามสถานการณ์จริง)
งบลงทุนXXXXXX
ข้าวสินเหล็ก
XX(3,500ถุง)
XX (1,00ถุง)
90(ตามสถานการณ์จริง)
งบลงทุนXXXXXX
สนับสนุนการขายหน้าร้านยี่ปั๊ว+ซาปั๊ว  1.ป้าย 1ผืน  2.วีดิโอไฟล์ข้าว  3.แผ่นพับ 4.รถแห่โฆษณารอบๆร้าน 5.จัดงานส่งเสริมการขาย
ราคาข้าวสารอินทรีย์ : อาจลงตามต้นทุนการผลิต  หรือ ขึ้นตามสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ  อาจแจ้งให้ทราบ 15 วัน
การเปิดตัวแทนขายยี่ปั๊ว(ราคาส่ง) : รัศมี 10กิโลเมตรวัดจากระบบGPS(ละติจูด-ลองติจูด)
ขั้นตอนขนส่ง : ฟรี 
วางบิลชำระสินค้า : โอนเงินเข้าบัญชี  (ชดเชยค่าโอนครึ่งหนึ่ง)
ขอบคุณที่ให้ความสนใจ โครงการ บอกบุญคนอยากสุขภาพ D
ออร์แกนิคไรซ์สิงห์บุรี ภายใต้การควบคุมการผลิต  ป.เคมีภัณฑ์
ผลกำไรแต่ละปีเราจัดสรร ทัวร์ไหว้พระ 9วัดให้ 

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เครื่องบินฉีดยาข้าว,เครื่องบินพ่นยาฆ่าแมลง,ฉีดยาฆ่าแมลงด้วย เฮลิคอปเตอร์บังคับไฮเทค "D.F.O",รถพ่นยาในนาข้าว

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com


D.F.O เป็นชื่อ เฮลิคอปเตอร์บังคับไฮเทค ที่มีความสามารถในการฉีดยาฆ่าแมลงครับ ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรในฟาร์มต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฮลิคอปเตอร์บังคับนี้จะสามารถบิน และฉีดยาฆ่าแมลงแบบกระจายตามที่เราบังคับ อย่างไรก็ตามเจ้าเฮลิคอปเตอร์ บังคับยังมีราคาค่อนข้างสูง คงไม่เหมาะกับเกษตรกรบ้านเราสักเท่าไหร่ครับ

เรามาชมภาพเจ้าเฮลิคอปเตอร์บังคับไฮเทค กันเลยดีกว่าครับ  
(ยินดีให้บริการคิดเพียงไร่ละ50บาท)คลิกๆถ้าสนใจขอพื้นที่50ไร่ขึ้นไปครับ รถพ่นยาในนาข้าว ดูรายละเอียดได้ที่/ See Detail:

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เปิดเพจข้าวออร์แกนิคไรซ์ :https://www.facebook.com/organicricesingburi

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชี้แจงขั้นตอนบอกเล่าการกำจัดหญ้าในนาข้าว20-45วัน

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com




นวัตกรรมใหม่!!!สำหรับนาข้าวยุคปี2557
คุม-เลนแล้ว--- คุม-ฆ่าแล้ว--- หญ้าไม่ตายแน่ และเห็นหญ้าเมื่อ 25วัน ให้ใช้ยาแถวบ้านเกษตรกรไปก่อน 2-3ครั้ง ถ้าไม่ตาย หรือไม่ประทับใจ ถึงโทรมาปรึกษา หรือ สั่งชุด เด็ดหัว จากทางร้านไปใช้
ขอย้ำ 2-3 ครั้ง ค่อยโทรมาค่ะ ไม่ชอบคนถามเฉยแสดงว่า คุณคือร้านค้าลวงความลับเท่านั้น
****ฝนตกบ่อย ฉีดคุม-ฆ่าไม่ได้ มีวิธีแก้***     
มืออาชีพ.....ป.เคมีภัณฑ์ ณ.สิงห์บุรี โทร.087-9181778 รับกำจัดหญ้าวัชรพืชนาข้าวทุกชนิดตายสนิท........ ก่อนหน้ามาพบวิธีฉีดลุยน้ำ ท่านต้องโดน !!!มาแล้ว  ใส่ยาเยอะระดับ 70-100ซีซี----ข้าวตายแต่หญ้ารอด  หรือ ตายทั่งข้าวทั้งหญ้า ----ฝนตกครึ่งชั่วโมงไม่ได้ผล
ถ้าฉีดไม่เบื่อหรือยังไม่ครบ 2ครั้ง อย่าโทรมาน่ะ……หนูขายให้คนเดือดร้อนจริงๆเท่านั้นค่ะ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ข้าวไม่ออกรวง หนาวมากๆ เงินจำนำข้าวไม่เข้าบัญชี

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com
ข้าวไม่ออกรวง ข้าวไม่กินปุ๋ย ข้าวใบเหลือง ใบส้ม ใบไหม้

ข้าวไม่ออกรวง ปัญหา ที่พบกับเกษตรกรชาวนาปลูกข้าวไม่ออกรวงตามฤดูกาลนั้นมีหลายสาเหตุที่เกิดจาก ความสมบูรณ์ของต้นข้าว ประเพณีแต่โบราณที่มีมานานซึ่งระยะข้าวออกรวงสำหรับการปลูกข้าวนาปีนั้น เรียกว่าการทำขวัญข้าว จะทำกันในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน การทำขวัญข้าวเป็นการบูชาพระแม่โภสพ เป็นประเพณีแต่โบราณตามความเชื่อเพื่อบำรุงขวัญของชาวนาให้ได้ผลผลิตให้ข้าว ได้ออกรวงตามฤดูกาล เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนในการทำนาปลอดภัยต่อโรคและแมลงหนอนกินต้นข้าว จะทำกันในช่วงระยะที่ข้าวกำลังตั้งท้องเพื่อออกรวง
ปุ๋ยเพิ่มแป้งเม็ดข้าว,ปุ๋ยเร่งออกรวงข้าว,การใช้ปุ๋ยใบข้าว,ปุ๋ยนาโนชีวภาพ,ปุ๋ยเร่งข้าวเต่ง,ฉีดพ่นนาโน,อีเขียวปุ๋ย
ใน ยุคปัจจุบันนี้ วิทยาการได้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้ความเชื่อแบบโบราณได้เริ่มหมดไป แต่ยังเหลือไว้ในการทำเพื่อเป็นประเพณี ให้ลูกหลานได้ดู เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญา และการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ด้วยการถูกค้นพบว่า การที่ข้าวไม่ออกรวงนั้น มีสาเหตุหลายสาเหตุด้วยกัน สิ่งที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ข้าวไม่ออกรวงตามฤดูกาลนั้น เกิดจาก การขาดธาตุอาหารที่เพียงพอเพื่อจะนำไปใช้ในการออกผลผลิตนั่นเอง และสาเหตุรองที่ทำให้ต้นข้าวไม่รับปุ๋ย ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ อากาศหนาวจัด น้ำเย็นจัด และพื้นดินมีความแน่นรากพืชไม่สามารถเดินได้



ปัจจัยหรือสาเหตุที่ข้าวไม่ออกรวง มีสาเหตุใหญ่ ๆ ที่พอสังเกตุได้ดังนี้ 
1. ความสมบูรณ์ของข้าว ต้น ข้าวที่มีความสมบูรณ์พอและพร้อมที่จะออกรวงเกิดจากต้นข้าวได้มีการสะสมอาหาร ไว้เพื่อการออกรวงและผสมเกสรสร้างแป้งเมล็ดข้าว ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาแต่ละช่วง ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม การที่ข้าวไม่สมบูรณ์ของต้นข้าวเกิดจากข้าวไม่ได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ข้าวไม่กินปุ๋ย อาจเกิดจากสภาพดินที่เสื่อมระบบรากของต้นข้าวไม่สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ ดินเป็นกรดด่างมากเกินไป หรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อากาศหนาวจัด หรือร้อนจัด
บังคับรวงข้าว,ทำให้ข้าวออกรวง,ป้องกันข้าวรีบ,สาเหตุข้าวเมล็ดรีบ,ข้าวก้ม,ข้าวค้อม,ข้าวงวย,ข้าวงัน,ข้าวเหลือง
2.โรคข้าว ที่ เกิดจากไวรัส หรือเชื้อรา หรือที่เรียกว่าข้าวป่วย ข้าวงัน อาจเกิดจากการระบาดของแมลงศัตรูข้าวที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ไว้รัสที่เกิดจากเพลี้ยจะทำให้ข้าวแคระแกรน โรคจู๋ โรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบจุด โรคใบไม้ เป็นต้น
ปุ๋ยเว่อ,ปุ๋ยเม็ดนาโน,ปุ๋ยนาโนพ่นใบ,เทคนิคการทำข้าวออกรวง,ทำข้าวแตกกอ,นาข้าวอุบุลราชธานี,ปุ๋ยข้าวดีรวงดี
3. พันธุ์ข้าว ใน บางครั้งที่พบเกี่ยวกับปัญหาข้าวไม่ออกรวงที่เกิดจากความไม่รู้หรือความผิด พลาดในการเลือกพันธุ์ข้าวที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน ภูมิประเทศ และฤดูกาลปลูก ซึ่งยังผลให้ข้าวไม่ออกรวงตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งข้าวบางสายพันธุ์ที่เป็นข้าวนาปี ที่ต้องอาศัยน้ำฝน เพื่อให้ต้นข้าวได้รับ หรือระบบการรับแสงของข้าว
4. การใช้ปุ๋ย ในการใช้ปุ๋ยตามหลัก ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธีการ ดังนี้
4.1 .สูตรปุ๋ย ที่ใช้สำหรับนาข้าว ขึ้นอยู่กับสภาพสภาวะของดิน เช่น ดินเหนียว ดินร่วนเหนียว ควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ร่วมกับ ปุ๋ยไนโตเจน สูตร 46-0-0 ดินทราย และดินร่วนทราย ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับ ปุ๋ยไตเจน สูตร 46-0-0 เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามลักษณะของพันธุ์ข้าวที่เป็นส่วนประกอบ
4.2 อัตราการใช้ปุ๋ย ตามปกติ ควรใช้ปุ๋ย อัตรา 20-25 กก.ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ควรให้ 2-3 ครั้งก่อนข้าวออกรวง หรือดูตามลักษณะความสมบูรณ์ของสภาพดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมเร็ว
4.3 ช่วงเวลาของการใช้ปุ๋ย ควรเฉลี่ย ให้ระยะแต่ละช่วงให้เท่ากัน เช่นการให้ 2 ครั้งก่อนข้าวออกรวง ควรให้อยู่ในช่วงที่ข้าวเจริญเติบโต เป็นระยะแตกกอของต้นข้าว (ลำต้นข้าวแบน) เฉลี่ยช่วงเวลาให้เท่ากัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควรให้ในช่วยแรกของการเตรียมดิน เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์จะมีภาวะการตกตะกอนของธาตุที่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีควรให้ช่วงน้ำแห้งในนา
4.4 วิธีการใช้ปุ๋ย ปุ๋ยเคมี เป็นปุ่ยที่มีการตกตะกอนธาตุได้ดีกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปู่ยเคมีเม็ด หรือปุ๋ยอินทรีย์เม็ด ให้ปุ๋ยโดยการหว่านในพื้นที่นา สำหรับอาหารเสริมพืชควรใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ การใช้ปุ๋ยทางใบควรใช้ในช่วงเวลาเช้า (ช่วงปากใบเปิด หรือการใช้ปุ๋ยนาโนสามารถให้ได้ทุกช่วงเวลาแต่ควรให้ในช่วงเวลาแดดอ่อน)
ใส่ปุ๋ยแก้ข้าวไม่กินปุ๋ย,ข้าวไม่ออกรวงใช้แค็ปซูลนาโนฉีดพ่น,วายไอซีแค็ปซูลนาโน,ปุ๋ยโปแทสเซียม,ฟอสฟอรัสสูง
5.สภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนจัด หนาวจัด สำหรับปัญหาที่พบมากในฤดูหนาวสำหรับการปลูกข้าวนาปัง อายุข้าวไม่เกิน 120 วัน จะพบปัญหาที่ข้าวไม่ออกรวงเมื่อถึงเวลา เนื่องจากเจอกับสภาพหนาวจัด น้ำเย็นจัด ทำให้ต้นข้าวไม่กินปุ๋ย ต้นข้าวเริ่มเหลือง แต่ไม่ออกรวงข้าว การแก้ปัญหาเบื้องต้น ก่อนเข้าฤดูหนาว เมื่อคำนวณระยะเวลาออกรวงข้าวชนหนาว ให้ใส่ปุ๋ยก่อนเวลา และเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วหลังจาก 10-15 วัน ให้ดึงน้ำออกจนหมด เหลือไว้เพียงดินที่พอชุ่มชื้น และในระยะนี้ควรเปลี่ยนวิธีการให้ปุ๋ยทางใบแทนการให้ปุ่ยเคมีทางดิน เช่นอาหารพืช และฮอร์โมนเร่งการออกรวง
ข้าวไม่กินปุ๋ยข้าวป่วย วิธี การสังเกตุข้าวปุ๋ยรากข้าวไม่กินปุ๋ยแบบง่าย ๆ ให้ถอนต้นข้าว หรือทั้งกอขึ้นมาดู ให้วัดระยะความยาวของรากที่ถ่างออกให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางยาวที่สุด หากไม่ถึง 1 คืบ รากเป็นสีดำ แสดงว่าข้าวไม่กินปุ๋ย ขาดธาตุอาหารบำรุงต้นข้าว ไม่เจริญเติบโต ใบเริ่มเหลือง และแห้งตาย ควรใช้อาหารพืชทางใบฉีดพ่น เพื่อแก้ปัญหาข้าวไม่กินปุ๋ย ข้าวป่วย
พื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทยสามารถจำแนกลักษณะดินนา ได้3 ลักษณะ คือ ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินร่วนปนดินทราย ซึ่งทำให้วิธีการใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดินแตกต่างกันไปในดินนาแต่ละชนิด

-ดินเหนียว เป็นดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชนิดอื่นๆ การวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักพบว่า ดินเหนียวมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมเพียงพอต่อความต้องการของข้าวแล้ว การใส่ปุ๋ยเคมีจึงแนะนำให้ใส่เพียงปุ๋ยไนโตรเจน (N) และปุ๋ย ฟอสฟอรัส (P) เท่านั้น

-ดินร่วนและดินทราย ลักษณะเนื้อดินหยาบกว่า และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ คำแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมี จึงให้ใส่ธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K)

-การปรับปรุงดิน สำหรับดินร่วนปนทราย และดินทราย ซึ่งเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ สมควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น สามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ก่อนจะทราบว่าระยะเวลาการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมของข้าวเป็นเมื่อไร เกษตรกรจะต้องเรียนรู้ขั้นตอน ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว และความต้องการอาหารของต้นข้าวแต่ละระยะการเจริญเติบโตก่อนดังนี้

1.ระยะข้าวงอก ถึงระยะกล้า หลังจากหว่านแล้ว ข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน

2.ระยะกล้า ต้นข้าวจะเริ่มใช้อาหารจากดิน โดยดูดธาตุอาหารผ่านราก คำแนะนำใส่ปุ๋ยให้ใส่ธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ให้ใส่พร้อมกัน

3.ระยะแตกกอ เป็นระยะที่ข้าวสร้างหน่อใหม่ หลังจากข้าวตั้งตัวได้ นาหว่านจะเห็นหน่อใหม่หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7-10 วัน นาปักดำ หลังข้าวตั้งตัวหรือหลังปักดำ 7-10 วัน ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) (อัตรา 5 – 7 กิโลกรัมต่อไร่) อีกครั้ง เพื่อให้ข้าวแตกหน่อใหม่ที่แข็งแรงและสมบูรณ์

4.ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน หรือ กำเนิดช่อดอก เป็นระยะที่สำคัญ ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 2 เดือน หรือ 60 วัน ข้าวจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อสร้างรวงให้สมบูรณ์แข็งแรง มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมาก แนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) (อัตรา 5 – 7 กิโลกรัมต่อไร่) อีกครั้ง

5.ระยะข้าวตั้งท้อง เป็นระยะที่ข้าวกำลังจะออกรวงนับวันหลังจากระยะสร้างรวงอ่อน 5-7 วัน ลำต้นข้าวจะเปลี่ยนจากลักษณะแบน เป็นต้นกลม อวบ ระยะนี้ โดยทั่วไปข้าวจะมีการสะสมอาหารไว้ในลำต้นของแต่ละหน่อแล้ว ต้นข้าวสามารถดึงธาตุอาหารมาใช้ในการเจริญเติบโตของรวงได้ บางครั้งสำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่มีการแตกกอมาก อาหารที่สะสมไว้อาจไม่เพียงพอ ระยะข้าวตั้งท้องแนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) (อัตรา 5 – 7 กิโลกรัมต่อไร่) อีกครั้ง

6.ระยะข้าวออกดอก เป็นระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ของต้นข้าว ซึ่งข้าวจะออกดอกก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ช่วงนี้นาจะต้องมีน้ำอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ข้าวสร้างเมล็ดให้เต็ม ระยะนี้ข้าวจะดึงอาหารที่สะสมอยู่ที่ใบแก่(ส่วนล่าง) มาใช้

7.ระยะเก็บเกี่ยว เป็นระยะที่ข้าวสุกแก่เต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เรียกว่าระยะพลับพลึง นับได้หลังจากข้าวออกดอกแล้ว 28-30 วัน สามารถสังเกตได้จาก รวงข้าวสามส่วนจากปลายรวงจะมีสีเหลืองฟางข้าว และที่โคนรวงยังมีสีเขียวอ่อนอยู่
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องใส่ระยะเตรียมดิน คือไถกลบลงในดินก่อนปลูกข้าว 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาปุ๋ยอินทรีย์ย่อยสลายลงในดินก่อนการหว่านข้าวหรือปักดำ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สำหรับปุ๋ยพืชสด แนะนำให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว หรือ โสน ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปลูกและไถกลบก่อนเตรียมดินปลูกข้าว
การใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ตามคำแนะนำ โดยใส่ปุ๋ยเคมีอัตราที่แนะนำ 2-3 ครั้ง ปุ๋ย P K ให้ใส่ทั้งหมดในการใส่ปุ๋ยครั้งแรก และปุ๋ย N ให้แบ่งใส่ 3 ครั้ง ที่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะสร้างรวงอ่อน หากจะมีการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 หลังจากข้าวสร้างรวงอ่อน ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกครั้งเมื่อสังเกตได้ว่าใบข้าวที่อยู่ใกล้ใบธงเริ่มมี สีเหลือง ลำต้นไม่แข็งแรงจึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเล็กน้อย
สำหรับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังจากข้าวออกดอกไม่แนะนำให้ปฏิบัติ เพราะจะทำให้ข้าวแก่ช้า เมล็ดอวบอ้วน การสีข้าวทำให้เมล็ดแตกหักได้ง่าย และอาจมีโรค หรือแมลงรบกวนได้ โรคที่เกิดที่เมล็ดอย่างหนึ่งคือโรคเมล็ดด่าง ทำให้ข้าวคุณภาพไม่ดี ราคาข้าวตกต่ำลง

การใส่ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องมีการจัดการที่ดีและเหมาะสม ดังนี้

1.รู้ขนาดของแปลงปลูกข้าวที่แน่นอน เพื่อการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่ถูกต้อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2.รู้จักเลือกชนิดปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่ใส่ให้เหมาะกับพันธุ์ข้าวและชนิดของดิน และใส่ตรงตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ

3.ปิดกั้นคันนาที่ล้อมรอบแปลงที่จะใส่ปุ๋ยให้เรียบร้อย ไม่ให้มีการไหลออกของน้ำในช่วงใส่ปุ๋ยเคมี จนกว่าจะใส่ปุ๋ยไปแล้ว 3-5 วัน

4.รักษาระดับน้ำในนาข้าวไม่ให้สูงมากนัก ให้ที่นามีระดับน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร เป็นระดับที่เหมาะสม

5.สำรวจและกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เพื่อไม่ให้วัชพืชขึ้นมาแย่งอาหารกับต้นข้าว โดยเฉพาะเมื่อต้นข้าวยังเล็ก

6.คำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้ถูกต้อง จะได้ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายปุ๋ยที่ใส่มากเกินไป หรือจะได้ใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับ ความต้องการของต้นข้าว

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557