✍️ #พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศที่มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นเครื่องปรุงที่เอาไว้ดับคาวอาหารและเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการรักษา
=====================
✍️ พริกไทยมีลักษณะเม็ดกลมขนาดเล็ก รสชาติจัดจ้านเผ็ดร้อน ถ้าทำเป็นแบบแห้งก็จะได้ทั้งพริกไทยดำ (ไม่ปอกเปลือก) และพริกไทยขาว (ปอกเปลือกแล้ว) หรือถ้านำไปป่นก็จะกลายเป็นพริกไทยป่น เอาไว้โรยหน้าอาหารต่าง ๆ และให้กลิ่นหอมฉุน
====================
✍️ สารประกอบที่พบในพริกไทย
มีน้ำมันหอมระเหย 1 - 2.5 % มีสารอัลคาลอยด์หลัก คือ Piperidine และ Pipercanine ประมาณ 5 - 9 % ซึ่งเป็นตัวทำให้เผ็ดร้อนและมีกลิ่นฉุน พริกไทยอ่อนจะมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าพริกไทยดำ
====================
✍️ สำหรับสารอาหารในพริกไทย มีโปรตีน 11 % คาร์โบไฮเดรต 65 % แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน และวิตามินซี
===================
✍️ พริกไทย แบ่งตามวิธีการเก็บและเตรียมได้ 2 ชนิด คือ
พริกไทยดำ ได้จากการนำเอาพริกไทยซึ่งแก่เต็มที่แล้วแต่ยังไม่สุก มาตากแดดให้แห้งจนออกเป็นสีดำ และไม่ต้องปลอกเปลือก
พริกไทยขาว หรือพริกไทยล่อน ได้มาจากการนำเอาพริกไทยที่สุกเต็มที่มาแช่ในน้ำเพื่อลอกเปลือกออกแล้วนำไปตากให้แห้ง
===================
พริกไทยดำมีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคกระเพาะ ลำไส้ แก้ปวด แก้อักเสบ เป็นต้น ทางตำราจีนจะใช้พริกไทยดำในการรักษาโรคท้องเดินจากอหิวาต์ โรคมาลาเรีย และแก้ไข้
ส่วนน้ำมันในพริกไทยดำ (สารพิเพอรีน) ก็นำมาเจือจางกับน้ำ เอามาสูดดม หรือทาถูผิวหนัง เพื่อลดอาการไข้ หนาวสั่น ทำให้หายใจโล่งขึ้น และฆ่าเชื้อโรคได้ดี สามารถนำมาผสมกับน้ำมัน แล้วนวดบริเวณที่ปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้กลิ่นของพริกไทยยังเข้าไปกระตุ้นสมองให้รู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ
ส่วนในตำราไทยจะนำพริกไทยดำมาทำเป็นสมุนไพรเพื่อแก้อาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ จากอาหารไม่ย่อย และแก้อาการอ่อนเพลีย
====================
นำพริกไทยดำ 1 พวงมาแช่ในน้ำร้อนนานประมาณ 15 - 20 นาที กรองเอาแต่น้ำร้อนนำมาผสมกับน้ำผึ้ง 1 - 2 ช้อนชา แล้วค่อยๆ จิบ เมื่ออาการไอแบบมีเสมหะ
***#ยังไม่มีรายงานการนำพริกไทย หรือสารสกัดจากพริกไทย มาใช้ในการรักษาอาการอยากบุหรี่ มีเพียงงานวิจัยในหลอดทดลองที่แสดงถึงสารต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอล และสารนิโคตินที่อยู่ในพริกไทยและคาดว่า อาจช่วยถอนอาการติดนิโคตินได้
======================
ในพริกไทยดำมีสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เยื่อบุจมูกระคายเคืองจนน้ำมูกไหลออกมา จมูกก็จะโล่ง หายใจได้สะดวกมากขึ้น วิธีคือ นำน้ำมันสกัดจาก พริกไทยดำ 3 หยด ไปต้มในน้ำ 1 ถ้วยตวงผสมน้ำมันยูคาลิปตัสลงไปเล็กน้อย ต้มจนไอร้อนพุ่งตัวออกมา แล้วจึงนำน้ำต้มนั้นมาสูดดมเพื่อรักษาอาการ
======================
นำน้ำมันสกัดจากพริกไทยดำ 2 หยด มาผสมกับน้ำมันมะกอก ประมาณ 4 - 5 หยด แล้วผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปทาบริเวณ ที่เคล็ดขัดยอก แล้วนวดวน ๆ สักพัก อาการก็จะดีขึ้น เมื่อรู้ท้องอืด แน่นท้อง ให้เติมพริกไทยดำ (แบบเม็ด) ลงในมื้ออาหาร หรือโรยบนเนื้อสัตว์ เพราะพริกไทยดำจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งกรดไฮโครคลอริกซึ่งเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่มีหน้าที่ปรับสมดุลการย่อยของอาหารทำให้กระเพาะและลำไส้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น
=====================
นำพริกไทยดำ มาตำหยาบ ผสมกับน้ำมันมะกอก แล้วนำมาขัดผิว เพราะในพริกไทยดำ มีสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านเชื้อแบคทีเรียค่อนข้างสูง อีกทั้งคึวามร้อนของพริกไทย ยังช่วยเปิดรูขุมขน ช่วยทำให้กำจัดสิ่งสกปรก ที่ฝังลึกได้อย่างดี และสามารถนำไปผสมกับครีม เพื่อทาตัวได้อีกด้วย
====================
#ประโยชน์ในการลดความอ้วน ปัจจุบันมีผลการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันว่า พริกไทยดำสามารถลดความอ้วนได้จริงและสามารถลดน้ำหนักได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร"ไพเพอรีน" ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านความอ้วน นอกจากนี้จุดเด่นของพริกไทยในเรื่องความฉุนและรสชาติที่เผ็ดร้อนยังช่วยในการควบคุมการก่อตัวของเซลล์ไขมันใหม่ให้ลดลง ทำลายเซลล์ไขมันเก่าที่สะสมอยู่ภายในร่างกายให้มีจำนวนลดลงด้วยจึงกลับมาอ้วนได้ยากขึ้น พริกไทยยังเข้าไปกระตุ้นการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานที่ได้รับจาการรับประทานอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการสะสมของไขมันซึ่งเป็นสำเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความอ้วน
======================
#คุณค่าทางด้านโภชนาการ พริกไทยมีแคลเซียมปริมาณสูงมากโดยเฉพาะในพริกไทยอ่อน แคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงอยู่เสมอ รวมทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้อีกด้วย พริกไทยมีฟอสฟอรัสและวิตามินซีที่ช่วยในการชะลอการเสื่อมของเซลล์และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการมองเห็นมีสารที่ชื่อว่า ไพเพอรีน และ ฟินอลิกส์ ซึ่งทั้งคู่เป็นสารต้านอนุูมูลอิสระ มีสรรพคุณในการป้องกันมะเร็งในระยะเริ่มต้น
นอกจากผลของพริกไทยจะมีประโยชน์มากมายแล้ว ใบและลำต้นก็ยังสามารถเอามาทำยาสมุนไพรได้เช่นกัน ทั้งนี้อยู่ที่ว่า ใครจะนำไปทำ หรือผลิตเป็นแบบไหน
โดยใช้ได้ทั้ง ดอก ที่รักษาอาการตาแดง และความดันโลหิตสูงได้ ใบ แก้ลมจุกเสียด ปวดมวนท้องได้ เถา แก้เสมหะที่คั่งที่ปอด และลดอาการท้องร่วงขั้นรุนแรงได้ ราก ใช้ขับลมลำไส้ แก้วิงเวียน น้ำมันในพริกไทย ช่วยลดน้ำหนัก และนวดทาบริเวณที่ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ
ที่มาของข้อมูล
ชานนท์ นัยจิตร, อนุรักษ์ เชื้อมั่ง. การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมุลอิสระ สารประกอบรวมฟีนอล และนิโคตินของสมุนไพรไทย 15 ชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;24(2):351-361.
#พริกไทยดำ350 มก.(เม็ดเล็ก) #อยากลดความอ้วน
ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
ช่วยต่อต้านเนื้องอก
ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
ช่วยในการขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
สารสกัดน้ำมันกระเทียมมีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและไซนัส
ช่วยรักษาโรคไอกรน
ช่วยแก้อาการหอบ หืด
ช่วยรักษาโรคหลอดลม
ช่วยระงับกลิ่นปากกระเทียม
ช่วยในการขับเหงื่อ
ช่วยในการขับเสมหะ
ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
ช่วยในการขับลม
ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
ช่วยรักษาโรคบิด
ช่วยในการขับปัสสาวะ
ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
ช่วยกำจัดพิษจากสารตะกั่วกระเทียมสรรพคุณ
ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยาได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสซั่ม
กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี
ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร
====================
คุณค่าทางโภชนาการ
กระเทียมดิบปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม เส้นใยอาหาร 2.1 กรัม แคลเซียม 181 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม
แมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม สังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ซิลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม
=====================
สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ของกระเทียม
สารในกลุ่มสารประกอบกำมะถัน (organosulfur) ได้แก่ allisatin, ajoene, methylajoene, dimethylajoene, allicin, methylallyl thiosulfinates, dimethyl thiosulfinates, diallyl sulfide, diallyl disulfide, diallyl trisulfide, di(1-propenyl) sulfide, alkenyl disulfide, alkenyl trisulfide, S-allyl cysteine, allyl methyl sulfide, thiacremonone และสารกลุ่มฟลาวานอยด์ ได้แก่ quercetin, isoquercitrin, reynoutrin, astragalin และ isorhamnetin 3-O-b-D-glucopyranoside (1-13)
====================
กระเทียมแคปซูล ดีไหม?
นอกจากการนำกระเทียมมาปรุงอาหารเมนุูต่างๆ หรือรับประทานแบบสดๆ หรือรับประทานแบบดองแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดน้ำมันกระเทียม เป้นต้น
=====================
การรับประทานกระเทียมแคปซูลจะได้ผลดี หากรับประทานอย่างถูกวิธีและถูกสัดส่วน
วิธีรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 3 เดือน ควรหยุดพัก 1-2 สัปดาห์ แล้วค่อยกลับมารับประทานใหม่
====================
ข้อควรระวังในการรับประทานกระเทียม
เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
====================
การรับประทานกระเทียมสดในขนาดสูง กระเทียมชนิดเม็ด หรือแคปซูลเป็นเวลานาน (รับประทานติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานมากๆ) จะมีผลทำให้เกล็ดเลือดต่ำลง มีรายงานพบว่า มีคนไข้เลือดออกในสมอง เลือดหยุดช้า และเลือดออกไม่หยุดในขณะผ่าตัด
กระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดเหลวและแข็งตัวช้า ดังนั้นต้องระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือยาต้านการจับตัวของเกร็ดเลือด และยา NSAIDs บางชนิด เช่น aspirin และ indomethacin เพราะจะทำให้ค่าการแข็งตัวของเลือดลดลง และอาจทำให้เลือดออก
ถ้าอ่านจบแล้วรู้สึกเหมือนได้กลิ่นกระเทียมเจียวหอมๆ ลอยมาแตะจมูก อาหารมื้อต่อไปก็อย่ารีรอ ลองมองหาเมนูที่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบมาชิมกันดูนะ ถ้าคุณไม่ได้อยู่กลุ่มยกเว้นการบริโภค แต่อย่าลืมว่า ควรชิมแต่พอดี และกินอาหารให้หลากหลายจะดีต่อสุขภาพที่สุด
ที่มาของข้อมูล
Denis Zofou and Vincent P.K. Titanji, Antimalarial and Other Antiprotozoal Products from African Medicinal Plants (https://www.sciencedirect.com/...), 2013
พนิดา ใหญ่ธรรมสาร, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.medplant.mahidol.ac.th/events/25580128/doc25580128_01.pdf)
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/allium.html)
#พริกไทยดำ350 มก.(เม็ดเล็ก) #อยากลดความอ้วน