ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com
* สารอินทรีย์ คือสารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ข้อมูลบางแหล่งจึงจัดปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และกฎหมายไทยถือว่า ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมี
* ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้ชนิดแรกของโลก และปฏิวัติวงการเคมี ที่เคยเชื่อว่าสารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
อาจกล่าวได้อย่างง่าย ๆ ว่า ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (เพราะก๊าซไนโตรเจนดูดมาจากอากาศ)
อย่างไรก็ตามในขบวนการผลิต จะได้สารพิษที่ไม่ต้องการปะปนมาด้วยคือ ไบยูเร็ต (biuret) ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้มีปริมาณต่ำ และใช้เป็นตัวแบ่งเกรดปุ๋ยยูเรีย โดยทั่วไป กำหนดให้ไบยูเร็ตไม่เกิน 1%
อันเนื่องมาจากการผลิตแอมโมเนีย ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) เป็นวัตถุดิบ ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรีย และส่งผลต่อราคาขายปุ๋ยยูเรียอีกด้วย
ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน สำหรับโรงงานผลิตปุ๋ยบัลค์ โดยนำไปบัลค์ปุ๋ย (คลุกปุ๋ย) กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น แม่ปุ๋ยแดป (DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยม็อบ (MOP) 0-0-60 และฟิลเลอร์ ด้วยการคลุกเคล้า เพื่อให้ได้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 16-16-8
ที่สำคัญปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนิยมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เพื่อเสริม โปรตีน (ไม่ใช้ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม) เพื่อเพิ่มโปรตีนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่าง ๆ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ
นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ยังใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นสารให้ความเย็น เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเวลาละลาย จะมีความสามารถดูดความร้อนได้สูง (ทำให้สิ่งรอบข้างเย็นลง)
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมในพลาสติก เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดี
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นกาว
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมวัตถุไวไฟ
และอื่น ๆ อีกมากมาย
ข้อควรระวัง
ไม่สามารถให้ยูเรียเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้โดยตรง หรือให้เป็นอาหารสัตว์ในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายและทำให้สัตว์ตายได้
เมื่อเติมปุ๋ยยูเรียลงในดินจะเกิดกระบวนการดังนี้
• ปุ๋ยยูเรีย เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายจะเปลี่ยนรูปเป็น แอมโมเนีย (NH3)
• แอมโมเนียบางส่วน จะระเหยสูญเสียไปจากดิน
• แอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียม (NH4+)
• แอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• แอมโมเนียมบางส่วน จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนไตรท์ (NO2-)
• ไนไตรท์ จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท (NO3-)
• ไนเตรท เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• เนื่องจากไนเตรทมีประจุลบไม่จับกับอนุภาคดิน ไนเตรทบางส่วนจะถูกชะล้างสูญเสียไปจากดิน
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีมาก และพืชจึงสามารถดูดซึมธาตุไนโตรเจนไปใช้ได้ทั้งจากทางรากและทางใบ เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยยูเรียต้องใส่ในขณะที่ดินเปียกชื้นพอเหมาะ
• สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงหลังปักดำข้าว 35-45 วัน
พืชไร่ชนิดต่าง ๆ
• สำหรับอ้อยปลูก ใช้ยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อปี
แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง เท่า ๆ กันครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน
ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน
• สำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว
• สำหรับอ้อยตอ ในเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว
โดย แบ่งอัตราการใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อต้นพืชอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม ครั้งที่สองใช้หลังหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม
ถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก จะทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม มีใบเพิ่มผิดปกติ อาจทำให้พืชเฉาและตายได้ (น็อคปุ๋ย) ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในกรณีต้นข้าว จะได้ข้าวเมล็ดเล็กลีบกว่าปกติ ทำให้ต้นพืชอ่อนแอไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่าย เช่น โรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา ที่เคยระบาดในจังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อันเนื่องมาจากใช้ปุ๋ยยูเรียปริมาณสูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นข้าวอวบ ใบข้าวอวบ แต่เปราะและอ่อนแอ ติดโรคไหม้ข้าวได้ง่าย
เคยมีผลสำรวจการใช้ปุ๋ยยูเรียจากทางการ ปรากฏว่าเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินความจำเป็น เพราะคิดว่ายิ่งใส่ปุ๋ยปริมาณมาก จะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากตาม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนอกจากปุ๋ยส่วนเกินที่พืชไม่ได้ดูดซึมไปใช้แล้ว ทำให้ปุ๋ยตกค้าง และเป็นผลเสียต่อดินในระยะยาว และเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องศึกษาลักษณะของดิน เคมีของดิน ปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน ก่อนการเพาะปลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย ๆ จากประสบการณ์ ควรส่งดินไปตรวจสอบที่หน่วยเกษตรเป็นระยะ เพื่อจะได้รู้ปริมาณปุ๋ยและแร่ธาตุในดิน เพื่อจะได้เลือกประเภทปุ๋ย และสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี
อย่างไรก็ได้ได้มีผลการวิจัย สรุปว่าการใช้แต่ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว กลับจะทำให้โครงสร้างดิน สมดุลของดินเสีย ตลอดจนได้ผลผลิตปริมาณต่ำ ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กันไปด้วยในสัดส่วนที่เหมาะสม
ปุ๋ยยูเรีย ตามกฎหมาย
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ตามกฎหมายเรียกว่า "ปุ๋ยเคมียูเรีย" โดยต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 44 ของน้ำหนัก มีปริมาณไบยูเร็ตต่ำกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนัก และมีปริมาณความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก* สารอินทรีย์ คือสารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ข้อมูลบางแหล่งจึงจัดปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และกฎหมายไทยถือว่า ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมี
* ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้ชนิดแรกของโลก และปฏิวัติวงการเคมี ที่เคยเชื่อว่าสารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
ราคาปุ๋ยยูเรีย (urea price)
ราคาปุ๋ยยูเรีย ขึ้นลงตามตลาดโลก อันเนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบ บางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากก๊าซธรรมชาติ ส่วนบางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากถ่านหิน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน ภาษี ปุ๋ยยูเรีย ถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ (commodity) ที่มีการซื้อขายกันโดยทั่วไป และมีราคาซื้อขายล่วงหน้า แต่ปัจจัยที่มีผลต่อราคาปุ๋ยยูเรียอย่างมาก คือ ปริมาณความสามารถของการผลิตโดยรวม ปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยโดยรวม (demand - supply) และปริมาณปุ๋ยยูเรียคงคลังที่เก็บไว้เพื่อจำหน่าย และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยยูเรีย (urea production)
เริ่มจากการดูดก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตก๊าซไฮโดรเจน (H2) (บางโรงงานผลิตจากถ่านหิน) มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นแอมโมเนีย (NH3) และได้ผลพลอยได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หลังจากนั้นนำแอมโมเนียเหลว และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผลิตได้ก่อนหน้านี้มาผ่านขบวนการทางเคมี ที่ความร้อนสูงประมาณ 180°C ที่ความดันประมาณ 200 บาร์ แล้วนำมาตกผลึก จะได้เป็นปุ๋ยยูเรียอาจกล่าวได้อย่างง่าย ๆ ว่า ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (เพราะก๊าซไนโตรเจนดูดมาจากอากาศ)
อย่างไรก็ตามในขบวนการผลิต จะได้สารพิษที่ไม่ต้องการปะปนมาด้วยคือ ไบยูเร็ต (biuret) ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้มีปริมาณต่ำ และใช้เป็นตัวแบ่งเกรดปุ๋ยยูเรีย โดยทั่วไป กำหนดให้ไบยูเร็ตไม่เกิน 1%
อันเนื่องมาจากการผลิตแอมโมเนีย ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) เป็นวัตถุดิบ ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรีย และส่งผลต่อราคาขายปุ๋ยยูเรียอีกด้วย
คุณสมบัติของปุ๋ยยูเรีย (urea property)
มีผลึกสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว ดูดความชื้นได้ดี ละลายน้ำได้ดีมาก ที่อุณหภูมิห้อง ยูเรีย 1.5 กิโลกรัม สามารถละลายหมดในน้ำเปล่า 1 กิโลกรัมได้ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 133 องศาเซลเซียส (สูงกว่าน้ำเดือด) ไม่ติดไฟชนิดของปุ๋ยยูเรีย (urea type)
1.ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม (granular urea)
ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดใหญ่ 2-4 มิลิเมตร มีสีขาวเหมือนเม็ดโฟม นิยมใช้ทางการเกษตร เหมาะกับการหว่าน และใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ยทั่วไปได้ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน สำหรับโรงงานผลิตปุ๋ยบัลค์ โดยนำไปบัลค์ปุ๋ย (คลุกปุ๋ย) กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น แม่ปุ๋ยแดป (DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยม็อบ (MOP) 0-0-60 และฟิลเลอร์ ด้วยการคลุกเคล้า เพื่อให้ได้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 16-16-8
2.ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู (prilled urea)
ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดเล็ก 1-3 มิลิเมตร มีสีขาวใสเหมือนเม็ดสาคู เฉพาะในประเทศไทยนิยมใช้ทางการเกษตรน้อยกว่าปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม แต่ใช้ได้ดีกับต้นไม้เหมือนปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เพียงแต่ไม่เป็นที่คุ้นเคยของเกษตรกร ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ไม่สามารถใช้บัลค์ปุ๋ยได้เนื่องจากเม็ดมีขนาดเล็กที่สำคัญปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนิยมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เพื่อเสริม โปรตีน (ไม่ใช้ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม) เพื่อเพิ่มโปรตีนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่าง ๆ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ
นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ยังใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นสารให้ความเย็น เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเวลาละลาย จะมีความสามารถดูดความร้อนได้สูง (ทำให้สิ่งรอบข้างเย็นลง)
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมในพลาสติก เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดี
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นกาว
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมวัตถุไวไฟ
และอื่น ๆ อีกมากมาย
ประโยชน์ของยูเรียเป็นปุ๋ย (urea as fertilizer)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นแม่ปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องการในปริมาณที่สูงมาก โดยทั่วไปไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุอาหารในดินที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของ พืช จึงมีความจำเป็นต้องใส่เพิ่มในทุกกรณี เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม ได้ผลผลิตที่ดี โดยปุ๋ยยูเรีย ช่วยทำให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบดกหนา ใบสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มโปรตีนในผลผลิตประโยชน์ของยูเรียเป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีน (urea as feedstuff)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีนที่สำคัญสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัวเนื้อ วัวนม ควาย โค กระบือ แพะ แกะ กวาง เพราะจุลอินทรีย์ในกระเพาะหมัก (rumen หรือ กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว) ของสัตว์เคี้ยวเอี้องสามารถเปลี่ยนยูเรียในอาหารให้เป็นก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโน เพื่อให้สัตว์นำไปสร้างเป็นโปรตีน นอกจากนี้ยูเรียถือเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ที่ให้โปรตีนในราคาถูกที่สุด ถูกกว่าปลาป่น และกากถั่วต่าง ๆ เพราะให้โปรตีนสูงถึง 287.5 เปอร์เซนต์ข้อควรระวัง
ไม่สามารถให้ยูเรียเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้โดยตรง หรือให้เป็นอาหารสัตว์ในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายและทำให้สัตว์ตายได้
ประโยชน์ของยูเรียเป็นสารเคมี (urea as chemicals)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้เป็นสารเคมี ที่เป็นส่วนประกอบในขบวนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิด เช่น เป็นส่วนผสมในการผลิตปลั๊กไฟฟ้า เป็นส่วนผสมในการผลิตสารให้ความเย็น เป็นส่วนผสมในการผลิตกาว เป็นต้นการให้ธาตุอาหารไนโตรเจนของปุ๋ยยูเรีย (how urea nutrient works)
ไนโตรเจน (N2) เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ โดยมีมากถึง 78% (มากกว่าแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจ) แต่เนื่องจากไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย มีโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง อีกทั้งไนโตรเจนไม่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้โดยง่าย ทำให้ในธรรมชาติและในดินมีไนโตรเจนซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ น้อยมาก ดินทั่วไปโดยเฉพาะดินสำหรับการเพาะปลูกถูกพืชดูดซึมไนโตรเจนไปใช้จนหมด ทำให้คลาดแคลนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกต่อไป มีความจำเป็นต้องเติมไนโตรเจนกลับลงสู่ดินในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ในรูป ของปุ๋ย และปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูงที่สุดคือปุ๋ยยูเรียเมื่อเติมปุ๋ยยูเรียลงในดินจะเกิดกระบวนการดังนี้
• ปุ๋ยยูเรีย เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายจะเปลี่ยนรูปเป็น แอมโมเนีย (NH3)
• แอมโมเนียบางส่วน จะระเหยสูญเสียไปจากดิน
• แอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียม (NH4+)
• แอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• แอมโมเนียมบางส่วน จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนไตรท์ (NO2-)
• ไนไตรท์ จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท (NO3-)
• ไนเตรท เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• เนื่องจากไนเตรทมีประจุลบไม่จับกับอนุภาคดิน ไนเตรทบางส่วนจะถูกชะล้างสูญเสียไปจากดิน
อัตราการใช้ปุ๋ยยูเรีย วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้ (urea usage)
ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของดิน ปริมาณของสารอาหารในดิน และที่สำคัญขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของพืชที่ปลูก พันธุ์พืชที่ปลูกปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีมาก และพืชจึงสามารถดูดซึมธาตุไนโตรเจนไปใช้ได้ทั้งจากทางรากและทางใบ เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยยูเรียต้องใส่ในขณะที่ดินเปียกชื้นพอเหมาะ
นาข้าว
• สำหรับพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 5-10 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงก่อนข้าวออกดอก 30 วัน• สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงหลังปักดำข้าว 35-45 วัน
พืชไร่ชนิดต่าง ๆ
อ้อย
• สำหรับอ้อยปลูก ใช้ยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อปี
แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง เท่า ๆ กันครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน
ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน • สำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว
• สำหรับอ้อยตอ ในเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว
สับปะรด
ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบหลังจากปลูก 30 วันข้าวโพด ข้าวฟ่าง
ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบเมื่อมีอายุ 25-30 วันพืชผัก ชนิดต่าง ๆ
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้ได้กับมะเขือเทศ แตงโม พริก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง มันเทศ และพืชผักทุกชนิดโดย แบ่งอัตราการใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อต้นพืชอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม ครั้งที่สองใช้หลังหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม
ข้อควรระวังของการใช้ปุ๋ยยูเรีย (urea usage caution)
การใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง รากพืชชอนไชหาอาหารได้ไม่ดี ทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ดินเค็มถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก จะทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม มีใบเพิ่มผิดปกติ อาจทำให้พืชเฉาและตายได้ (น็อคปุ๋ย) ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในกรณีต้นข้าว จะได้ข้าวเมล็ดเล็กลีบกว่าปกติ ทำให้ต้นพืชอ่อนแอไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่าย เช่น โรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา ที่เคยระบาดในจังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อันเนื่องมาจากใช้ปุ๋ยยูเรียปริมาณสูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นข้าวอวบ ใบข้าวอวบ แต่เปราะและอ่อนแอ ติดโรคไหม้ข้าวได้ง่าย
เคยมีผลสำรวจการใช้ปุ๋ยยูเรียจากทางการ ปรากฏว่าเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินความจำเป็น เพราะคิดว่ายิ่งใส่ปุ๋ยปริมาณมาก จะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากตาม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนอกจากปุ๋ยส่วนเกินที่พืชไม่ได้ดูดซึมไปใช้แล้ว ทำให้ปุ๋ยตกค้าง และเป็นผลเสียต่อดินในระยะยาว และเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องศึกษาลักษณะของดิน เคมีของดิน ปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน ก่อนการเพาะปลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย ๆ จากประสบการณ์ ควรส่งดินไปตรวจสอบที่หน่วยเกษตรเป็นระยะ เพื่อจะได้รู้ปริมาณปุ๋ยและแร่ธาตุในดิน เพื่อจะได้เลือกประเภทปุ๋ย และสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี
อย่างไรก็ได้ได้มีผลการวิจัย สรุปว่าการใช้แต่ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว กลับจะทำให้โครงสร้างดิน สมดุลของดินเสีย ตลอดจนได้ผลผลิตปริมาณต่ำ ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กันไปด้วยในสัดส่วนที่เหมาะสม