นับเป็นข่าวดีของปี
2559 ที่ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” กำลังจะสิ้นสุดลงในช่วงครึ่งแรกของปี
แน่นอนว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในหลายภูมิภาค
รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรจะค่อยๆ ทุเลาความรุนแรงลง
ทว่า ช่วงครึ่งปีหลังประเทศไทยจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “ลานีญา” เต็มรูปแบบ นั่นหมายความว่ามีแนวโน้มสูงที่จะต้องเผชิญกับฝนตกหนักรุนแรงได้
ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” เสมือนเป็นคู่ตรงข้ามของปรากฏการณ์ “ลานีญา” โดยเอลนีโญจะทำให้อุณหภูมิของผิวมหาสมุทรแปซิฟิคบริเวณเส้นศูนย์สูตรร้อนขึ้น ขณะที่ลานีญาจะทำให้เย็นลง
ผลกระทบที่เกิดคืออากาศแปรปรวนแบบคู่ตรงข้าม เช่นเมื่อปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้พื้นที่หนึ่งเกิดภัยแล้งหนัก ปรากฏการณ์ลานีญาก็จะทำให้พื้นที่นั้นเกิดภัยน้ำท่วมจากฝนตกหนักได้
หากย้อนกลับไปเมื่อวิกฤติอุทกภัยในปี 2554 จะพบว่าปรากฏการณ์ลานีญามีส่วนสำคัญในการทำให้ฝนตกหนักและยาวนานผิดปกติ น้ำจึงไหลบ่าทางจังหวัดภาคเหนือ ก่อนที่มวลน้ำจะไหลท่วมขังในกรุงเทพ (กทม.) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากกว่า 1.425 แสนล้านบาท สายพานการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยได้รับความเสียหายข้ามปี
ยังคงเป็นคำถามถึงการจัดการน้ำในขณะนั้นว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร เนื่องจากพบว่าเขื่อนภูมิพลมีการกักเก็บน้ำไว้เต็ม 100% ในช่วง 3 เดือนแรกของฤดูมรสุม เป็นผลให้เขื่อนไม่สามารถรับน้ำเพิ่มเติมได้ ทำให้ต้องมีการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อนในขณะที่ปริมาณน้ำฝนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทว่า ช่วงครึ่งปีหลังประเทศไทยจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “ลานีญา” เต็มรูปแบบ นั่นหมายความว่ามีแนวโน้มสูงที่จะต้องเผชิญกับฝนตกหนักรุนแรงได้
ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” เสมือนเป็นคู่ตรงข้ามของปรากฏการณ์ “ลานีญา” โดยเอลนีโญจะทำให้อุณหภูมิของผิวมหาสมุทรแปซิฟิคบริเวณเส้นศูนย์สูตรร้อนขึ้น ขณะที่ลานีญาจะทำให้เย็นลง
ผลกระทบที่เกิดคืออากาศแปรปรวนแบบคู่ตรงข้าม เช่นเมื่อปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้พื้นที่หนึ่งเกิดภัยแล้งหนัก ปรากฏการณ์ลานีญาก็จะทำให้พื้นที่นั้นเกิดภัยน้ำท่วมจากฝนตกหนักได้
หากย้อนกลับไปเมื่อวิกฤติอุทกภัยในปี 2554 จะพบว่าปรากฏการณ์ลานีญามีส่วนสำคัญในการทำให้ฝนตกหนักและยาวนานผิดปกติ น้ำจึงไหลบ่าทางจังหวัดภาคเหนือ ก่อนที่มวลน้ำจะไหลท่วมขังในกรุงเทพ (กทม.) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากกว่า 1.425 แสนล้านบาท สายพานการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยได้รับความเสียหายข้ามปี
ยังคงเป็นคำถามถึงการจัดการน้ำในขณะนั้นว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร เนื่องจากพบว่าเขื่อนภูมิพลมีการกักเก็บน้ำไว้เต็ม 100% ในช่วง 3 เดือนแรกของฤดูมรสุม เป็นผลให้เขื่อนไม่สามารถรับน้ำเพิ่มเติมได้ ทำให้ต้องมีการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อนในขณะที่ปริมาณน้ำฝนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ