นับเป็นข่าวดีของปี
2559 ที่ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” กำลังจะสิ้นสุดลงในช่วงครึ่งแรกของปี
แน่นอนว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในหลายภูมิภาค
รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรจะค่อยๆ ทุเลาความรุนแรงลง
ทว่า ช่วงครึ่งปีหลังประเทศไทยจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “ลานีญา” เต็มรูปแบบ นั่นหมายความว่ามีแนวโน้มสูงที่จะต้องเผชิญกับฝนตกหนักรุนแรงได้
ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” เสมือนเป็นคู่ตรงข้ามของปรากฏการณ์ “ลานีญา” โดยเอลนีโญจะทำให้อุณหภูมิของผิวมหาสมุทรแปซิฟิคบริเวณเส้นศูนย์สูตรร้อนขึ้น ขณะที่ลานีญาจะทำให้เย็นลง
ผลกระทบที่เกิดคืออากาศแปรปรวนแบบคู่ตรงข้าม เช่นเมื่อปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้พื้นที่หนึ่งเกิดภัยแล้งหนัก ปรากฏการณ์ลานีญาก็จะทำให้พื้นที่นั้นเกิดภัยน้ำท่วมจากฝนตกหนักได้
หากย้อนกลับไปเมื่อวิกฤติอุทกภัยในปี 2554 จะพบว่าปรากฏการณ์ลานีญามีส่วนสำคัญในการทำให้ฝนตกหนักและยาวนานผิดปกติ น้ำจึงไหลบ่าทางจังหวัดภาคเหนือ ก่อนที่มวลน้ำจะไหลท่วมขังในกรุงเทพ (กทม.) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากกว่า 1.425 แสนล้านบาท สายพานการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยได้รับความเสียหายข้ามปี
ยังคงเป็นคำถามถึงการจัดการน้ำในขณะนั้นว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร เนื่องจากพบว่าเขื่อนภูมิพลมีการกักเก็บน้ำไว้เต็ม 100% ในช่วง 3 เดือนแรกของฤดูมรสุม เป็นผลให้เขื่อนไม่สามารถรับน้ำเพิ่มเติมได้ ทำให้ต้องมีการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อนในขณะที่ปริมาณน้ำฝนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทว่า ช่วงครึ่งปีหลังประเทศไทยจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “ลานีญา” เต็มรูปแบบ นั่นหมายความว่ามีแนวโน้มสูงที่จะต้องเผชิญกับฝนตกหนักรุนแรงได้
ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” เสมือนเป็นคู่ตรงข้ามของปรากฏการณ์ “ลานีญา” โดยเอลนีโญจะทำให้อุณหภูมิของผิวมหาสมุทรแปซิฟิคบริเวณเส้นศูนย์สูตรร้อนขึ้น ขณะที่ลานีญาจะทำให้เย็นลง
ผลกระทบที่เกิดคืออากาศแปรปรวนแบบคู่ตรงข้าม เช่นเมื่อปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้พื้นที่หนึ่งเกิดภัยแล้งหนัก ปรากฏการณ์ลานีญาก็จะทำให้พื้นที่นั้นเกิดภัยน้ำท่วมจากฝนตกหนักได้
หากย้อนกลับไปเมื่อวิกฤติอุทกภัยในปี 2554 จะพบว่าปรากฏการณ์ลานีญามีส่วนสำคัญในการทำให้ฝนตกหนักและยาวนานผิดปกติ น้ำจึงไหลบ่าทางจังหวัดภาคเหนือ ก่อนที่มวลน้ำจะไหลท่วมขังในกรุงเทพ (กทม.) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากกว่า 1.425 แสนล้านบาท สายพานการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยได้รับความเสียหายข้ามปี
ยังคงเป็นคำถามถึงการจัดการน้ำในขณะนั้นว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร เนื่องจากพบว่าเขื่อนภูมิพลมีการกักเก็บน้ำไว้เต็ม 100% ในช่วง 3 เดือนแรกของฤดูมรสุม เป็นผลให้เขื่อนไม่สามารถรับน้ำเพิ่มเติมได้ ทำให้ต้องมีการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อนในขณะที่ปริมาณน้ำฝนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ย้อนกลับไปปี 2558 รัฐบาลได้แสดงท่าทีเมินเฉยต่อข้อกังวลของนักวิชาการหลากสาขา ที่ออกมาเตือนว่าประเทศไทยกำลังจะเจอภัยแล้งอย่างหนัก จนเมื่อเข้าสู่ครึ่งปีหลังที่ภัยแล้งทวีความรุนแรง จึงมีการขอความร่วมมือให้ประชาชนประหยัดน้ำ รวมทั้งขอให้เกษตรกรทำนาครั้งเดียว แต่ดูเหมือนว่าจะสายเกินไปเมื่อพื้นที่การเพาะปลูกข้าวครึ่งหนึ่งของประเทศได้มีการลงกล้าข้าวไปแล้ว การดึงน้ำเข้าไปใช้ในพื้นที่ไร่นาจึงไม่สามารถหยุดยั้งได้
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยรายงานว่าปริมาณการส่งออกข้าวเดือน ม.ค.-พ.ย. 2558 ลงลงถึง 9.6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น ขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวลดลงถึง 10.2% นอกจากนั้นผลผลิตทางการเกษตรด้านอื่นลดลงเช่นกัน รวมทั้งปาล์มน้ำมันและข้าวโพด เป็นสาเหตุหลักหนึ่งที่ทำให้จีดีพีประเทศไทยในปีที่แล้วไม่เติบโตนัก
เมื่อมองทั้ง 2 เหตุการณ์ของสภาพอากาศที่ต่างสุดขั้ว จะพบว่าการบริหารจัดการดูจะเป็นปัญหาหลักพอๆ กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น
การพยากรณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญานั้นสามารถทำได้กันข้ามปี โดยมีองค์กรนานาประเทศที่ได้รับความเชื่อถือสูงเผยแพร่ข่าวสารการพยากรณ์เป็นประจำ เช่น National Oceanic and Atmospheric Administration ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือที่รู้จักกันในนาม “โนอา” และ Australian Bureau of Meteorology ของประเทศออสเตรเลีย
มีการเผยแพร่ข่าวสารการพยากรณ์การเกิดปรากฏการณ์ลานีญาในปี 2559 มาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ออกมาเตือนประชาชนอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมต้องเตรียมการรับมือกับการแนวโน้มผลผลิตตกต่ำ โดยเฉพาะพืชจำพวกธัญพืช
ประวัติศาสตร์สอนซ้ำๆ ว่าทุกภาคส่วนของประเทศไทยต้องตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะเมื่อประมาณ 40% ของประชากรทั้งหมดเป็นเกษตรกร (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร) ผลกระทบจึงเกิดขึ้นกับคนในวงกว้าง ซ้ำยังทำให้ปัญหาความยากจนเลวร้ายขึ้นจากการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร
นานาชาติได้ขนานนามว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะภูมิอากาศจะเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดของศตวรรษนี้ รัฐบาลไทยเองต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น
ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีด้านการพยากรณ์ภูมิอากาศก้าวหน้าเช่นนี้ การเตรียมรับมือยิ่งเป็นไปได้มากขึ้นอยู่ที่ว่าจะให้ความสนใจหรือไม่
ที่มาข่าว+เคดิต : http:// www.greennewstv.com/?p=7811