วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างผลงานกำจัดหญ้าหนวดปลาดุก 20วันขึ้นไปในนาข้าว

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com

ออนคอล 1 ลิตร - ปุ๋ย ยา,ออนคอล 3จี กระสอบ 15กิโลกรัม,ออนคอล 3 จี - TJC Chemical Co., Ltd,ออนคอล 3จี 15กก.

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com
ออนคอล 1 ลิตร - ปุ๋ย ยา,ออนคอล 3จี กระสอบ 15กิโลกรัม,ออนคอล 3 จี - TJC Chemical Co., Ltd,ออนคอล 3จี 15กก.
 ออนคอล 3จี

ชื่อสามัญ : เบนฟูราคาร์บ ( benfuracarb )............80% EC
กลุ่มสารเคมี : Carbamate
ผลิตภัณฑ์ของ : Otsuka Chemical Co.,Ltd. Japan
ประโยชน์ : สารกำจัดแมลงชนิดดูดซึมและกินตาย มีความปลอดภัยสูง ไม่เป็นอันตรายต่อระยะดอกบาน สามารถกำจัดแมลงได้อย่างกว้างขวาง สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้โดยไม่เป็นพิษ ใช้สำหรับกำจัด เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย หนอนเจาะ หนอนกินใบ หนอนกอ หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ ในพืชตระกูลแตง ถั่วต่าง ๆ ข้าว ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผลต่าง ๆ
อัตราและวิธีการใช้ : 30-50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เมื่อพบการระบาด
ขนาดบรรจุ : 1,000 ซีซี.

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธีเช็คพัสดุ,เช็คEMS,เช็คไปรษณีย์ออนไลน์

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B8&ie=utf-8&oe=utf-8&rls=org.mozilla:th:official&client=firefox-a&gws_rd=cr&ei=3uW7Up3IGcHniAeN1IDgCg

ตรวจสอบสถานะสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ - ไปรษณีย์ไทย

โลโก้ Track&Trace เป็น flash. แล้วใส่หมายเลขของสิ่งของที่ต้องการตรวจสอบ(ทั้งตัวอักษรและตัวเลข 13 หลัก ) ตัวอย่าง เช่น   EE123456789TH  /  RR123456789TH
 บอกแผนที่นัดพบตามหลักมาตรฐานสากลด้วยระบบลองติจูด-ละติจูด ระบบGPS กันเถอะพี่น้อง

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พี่น้องครับ จะแบบไหนดีครับ

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com

www.0879181778.weebly.com

20 ข้อ ที่ควรรู้และปฏิบัติก่อนอายุ 45

1.ไม่ต้องตั้งใจเรียนมากไป เอาแค่ดีพอหางานดีๆทำก็พอ เพราะโลกแห่งความเป็นจริง วัดกันที่ผลงาน ไม่ใช่ที่เกรด
2.การทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นสำคัญมากพอๆ กับการคร่ำเคร่งหน้าตำราเรียน
3.เลือกงานที่เราชอบนั้นใช่ แต่อย่าลืมด้วยว่า อาชีพนั้น..สามารถเลี้ยงดูตัวเราได้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็อย่าหลอกตัวเอง
4.เมื่อถึงวัยทำงาน ใครเก็บเงินก่อน รวยเร็วกว่าและสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ คือ “ชีวิตที่ไม่มีหนี้ คือชีวิตที่ประเสริฐที่สุด”
5.หาเป้าหมายในชีวิตให้เจอโดยเร็วที่สุด เพราะมันจะเป็นเครื่องนำทางของคุณ ในชาตินี้ตลอดไป
6.ซื้อบ้านก่อน ที่จะซื้อรถ เพราะบ้านมีแต่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น รถมีแต่มูลค่าลดลง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า รถ=ลด
7.ดอกเบี้ยบ้านนั้นมหาโหดมาก รีบใช้ให้หมดโดยเร็วพลัน ก่อนที่จะแก่ แล้วผ่อนไม่ไหว
8.การเก็บเงินเป็นแค่บันไดขั้นแรกสู่ความร่ำรวย แต่ขั้นต่อมา คือ ต้องรู้จักลงทุน. อย่าลืมคบกับที่ปรึกษาการเงินไว้เป็นเพื่อน
9.อย่าเป็นศัตรูกับใครก็ตามบนโลกใบนี้ เพราะคุณจะไม่มีทาง รู้ว่าวันหนึ่งเขาอาจจะยิ่งใหญ่มาก จนกลับมาทำร้ายคุณก็เป็นได้
10.คอนเน็คชั่นหรือสายสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็สู้การมีเพื่อนเยอะไม่ได้
11.ควรมีงานทำมากกว่า 1 งานเพราะความมั่นคง ไม่เคยมีบนโลกใบนี้
12.อย่าคิดว่าตัวเองทำอะไรได้แค่อย่างเดียวเพราะความสามารถของคนเรา มีมากกว่า 1 เสมอ
13.เมื่อมีโอกาสใดก็ตามเข้ามาจงอย่าปฏิเสธ ถึงจะล้มเหลว แต่มันก็คือ ประสบการณ์
14.สร้างเนื้อ สร้างตัวให้ได้เร็วที่สุด ในขณะที่คุณยังมีกำลัง ยังเป็นหนุ่ม-สาว เพราะการฝ่าฟันอุปสรรคในช่วงอายุมาก ไม่ใช่เรื่องสนุก
15.ออกเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่ยังหนุ่มสาวเพราะเมื่อมีครอบครัว การเดินทางจะเป็นเรื่องยุ่งยากกว่าเดิม
16.เลือกคู่ชีวิต จงคิดให้ดีๆ อย่าดูแต่ข้อดีของเขา แต่ต้องดูด้วยว่าเราสามารถรับข้อเสียของเขาได้มากแค่ไหน
17.การมีแฟน หรือสามีภรรยา ยังเลิกกันได้ แต่ความเป็นพ่อแม่ลูก นั้นเลิกกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลพวกเขาให้ดีๆ
18.ความสำเร็จที่มากมายแค่ไหน ก็ไม่สามารถทดแทนความล้มเหลวของครอบครัวได้
19.ลองหาเวลาอยู่ว่างๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยดูบ้าง อย่าแบก โลกทั้งใบไว้คนเดียว และอีกอย่างงานก็ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต
20.สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญอันหนึ่ง โปรดถนอม ตัวเองให้มาก่ เมื่อยังเป็นวัยรุ่น อย่าใช้ชีวิตให้หนักเกินไป


สวัสดีปีใหม่ 2557  โชคดีทุกท่านครับ
www.0879181778.lnwshop.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

46-0-0,ยูเรีย,ไนโตรเจน,ซื้อแพงกว่าทำไม


ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com


ปุ๋ยยูเรีย ตามกฎหมาย

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ตามกฎหมายเรียกว่า "ปุ๋ยเคมียูเรีย" โดยต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 44 ของน้ำหนัก มีปริมาณไบยูเร็ตต่ำกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนัก และมีปริมาณความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก

* สารอินทรีย์ คือสารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ข้อมูลบางแหล่งจึงจัดปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และกฎหมายไทยถือว่า ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมี
* ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้ชนิดแรกของโลก และปฏิวัติวงการเคมี ที่เคยเชื่อว่าสารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น

ราคาปุ๋ยยูเรีย (urea price)

ราคาปุ๋ยยูเรีย ขึ้นลงตามตลาดโลก อันเนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบ บางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากก๊าซธรรมชาติ ส่วนบางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากถ่านหิน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน ภาษี ปุ๋ยยูเรีย ถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ (commodity) ที่มีการซื้อขายกันโดยทั่วไป และมีราคาซื้อขายล่วงหน้า แต่ปัจจัยที่มีผลต่อราคาปุ๋ยยูเรียอย่างมาก คือ ปริมาณความสามารถของการผลิตโดยรวม ปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยโดยรวม (demand - supply) และปริมาณปุ๋ยยูเรียคงคลังที่เก็บไว้เพื่อจำหน่าย และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก

กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยยูเรีย (urea production)

เริ่มจากการดูดก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตก๊าซไฮโดรเจน (H2) (บางโรงงานผลิตจากถ่านหิน) มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นแอมโมเนีย (NH3) และได้ผลพลอยได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หลังจากนั้นนำแอมโมเนียเหลว และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผลิตได้ก่อนหน้านี้มาผ่านขบวนการทางเคมี ที่ความร้อนสูงประมาณ 180°C ที่ความดันประมาณ 200 บาร์ แล้วนำมาตกผลึก จะได้เป็นปุ๋ยยูเรีย

อาจกล่าวได้อย่างง่าย ๆ ว่า ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (เพราะก๊าซไนโตรเจนดูดมาจากอากาศ)

อย่างไรก็ตามในขบวนการผลิต จะได้สารพิษที่ไม่ต้องการปะปนมาด้วยคือ ไบยูเร็ต (biuret) ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้มีปริมาณต่ำ และใช้เป็นตัวแบ่งเกรดปุ๋ยยูเรีย โดยทั่วไป กำหนดให้ไบยูเร็ตไม่เกิน 1%

อันเนื่องมาจากการผลิตแอมโมเนีย ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) เป็นวัตถุดิบ ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรีย และส่งผลต่อราคาขายปุ๋ยยูเรียอีกด้วย

คุณสมบัติของปุ๋ยยูเรีย (urea property)

มีผลึกสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว ดูดความชื้นได้ดี ละลายน้ำได้ดีมาก ที่อุณหภูมิห้อง ยูเรีย 1.5 กิโลกรัม สามารถละลายหมดในน้ำเปล่า 1 กิโลกรัมได้ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 133 องศาเซลเซียส (สูงกว่าน้ำเดือด) ไม่ติดไฟ

ชนิดของปุ๋ยยูเรีย (urea type)

1.ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม (granular urea)

ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดใหญ่ 2-4 มิลิเมตร มีสีขาวเหมือนเม็ดโฟม นิยมใช้ทางการเกษตร เหมาะกับการหว่าน และใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ยทั่วไปได้

ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน สำหรับโรงงานผลิตปุ๋ยบัลค์ โดยนำไปบัลค์ปุ๋ย (คลุกปุ๋ย) กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น แม่ปุ๋ยแดป (DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยม็อบ (MOP) 0-0-60 และฟิลเลอร์ ด้วยการคลุกเคล้า เพื่อให้ได้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 16-16-8

2.ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู (prilled urea)

ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดเล็ก 1-3 มิลิเมตร มีสีขาวใสเหมือนเม็ดสาคู เฉพาะในประเทศไทยนิยมใช้ทางการเกษตรน้อยกว่าปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม แต่ใช้ได้ดีกับต้นไม้เหมือนปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เพียงแต่ไม่เป็นที่คุ้นเคยของเกษตรกร ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ไม่สามารถใช้บัลค์ปุ๋ยได้เนื่องจากเม็ดมีขนาดเล็ก

ที่สำคัญปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนิยมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เพื่อเสริม โปรตีน (ไม่ใช้ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม) เพื่อเพิ่มโปรตีนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่าง ๆ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ
นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ยังใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นสารให้ความเย็น เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเวลาละลาย จะมีความสามารถดูดความร้อนได้สูง (ทำให้สิ่งรอบข้างเย็นลง)
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมในพลาสติก เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดี
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นกาว
ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมวัตถุไวไฟ
และอื่น ๆ อีกมากมาย

ประโยชน์ของยูเรียเป็นปุ๋ย (urea as fertilizer)

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นแม่ปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องการในปริมาณที่สูงมาก โดยทั่วไปไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุอาหารในดินที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของ พืช จึงมีความจำเป็นต้องใส่เพิ่มในทุกกรณี เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม ได้ผลผลิตที่ดี โดยปุ๋ยยูเรีย ช่วยทำให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบดกหนา ใบสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มโปรตีนในผลผลิต

ประโยชน์ของยูเรียเป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีน (urea as feedstuff)

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีนที่สำคัญสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัวเนื้อ วัวนม ควาย โค กระบือ แพะ แกะ กวาง เพราะจุลอินทรีย์ในกระเพาะหมัก (rumen หรือ กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว) ของสัตว์เคี้ยวเอี้องสามารถเปลี่ยนยูเรียในอาหารให้เป็นก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโน เพื่อให้สัตว์นำไปสร้างเป็นโปรตีน นอกจากนี้ยูเรียถือเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ที่ให้โปรตีนในราคาถูกที่สุด ถูกกว่าปลาป่น และกากถั่วต่าง ๆ เพราะให้โปรตีนสูงถึง 287.5 เปอร์เซนต์

ข้อควรระวัง
ไม่สามารถให้ยูเรียเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้โดยตรง หรือให้เป็นอาหารสัตว์ในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายและทำให้สัตว์ตายได้

ประโยชน์ของยูเรียเป็นสารเคมี (urea as chemicals)

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้เป็นสารเคมี ที่เป็นส่วนประกอบในขบวนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิด เช่น เป็นส่วนผสมในการผลิตปลั๊กไฟฟ้า เป็นส่วนผสมในการผลิตสารให้ความเย็น เป็นส่วนผสมในการผลิตกาว เป็นต้น

การให้ธาตุอาหารไนโตรเจนของปุ๋ยยูเรีย (how urea nutrient works)

ไนโตรเจน (N2) เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ โดยมีมากถึง 78% (มากกว่าแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจ) แต่เนื่องจากไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย มีโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง อีกทั้งไนโตรเจนไม่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้โดยง่าย ทำให้ในธรรมชาติและในดินมีไนโตรเจนซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ น้อยมาก ดินทั่วไปโดยเฉพาะดินสำหรับการเพาะปลูกถูกพืชดูดซึมไนโตรเจนไปใช้จนหมด ทำให้คลาดแคลนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกต่อไป มีความจำเป็นต้องเติมไนโตรเจนกลับลงสู่ดินในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ในรูป ของปุ๋ย และปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูงที่สุดคือปุ๋ยยูเรีย

เมื่อเติมปุ๋ยยูเรียลงในดินจะเกิดกระบวนการดังนี้
• ปุ๋ยยูเรีย เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายจะเปลี่ยนรูปเป็น แอมโมเนีย (NH3)
• แอมโมเนียบางส่วน จะระเหยสูญเสียไปจากดิน
• แอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียม (NH4+)
• แอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• แอมโมเนียมบางส่วน จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนไตรท์ (NO2-)
• ไนไตรท์ จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท (NO3-)
• ไนเตรท เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• เนื่องจากไนเตรทมีประจุลบไม่จับกับอนุภาคดิน ไนเตรทบางส่วนจะถูกชะล้างสูญเสียไปจากดิน

อัตราการใช้ปุ๋ยยูเรีย วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้ (urea usage)

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของดิน ปริมาณของสารอาหารในดิน และที่สำคัญขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของพืชที่ปลูก พันธุ์พืชที่ปลูก

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีมาก และพืชจึงสามารถดูดซึมธาตุไนโตรเจนไปใช้ได้ทั้งจากทางรากและทางใบ เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยยูเรียต้องใส่ในขณะที่ดินเปียกชื้นพอเหมาะ

นาข้าว

• สำหรับพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 5-10 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงก่อนข้าวออกดอก 30 วัน
• สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงหลังปักดำข้าว 35-45 วัน

พืชไร่ชนิดต่าง ๆ
อ้อย

• สำหรับอ้อยปลูก ใช้ยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อปี แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง เท่า ๆ กันครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน
• สำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว
• สำหรับอ้อยตอ ในเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว

สับปะรด

ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบหลังจากปลูก 30 วัน

ข้าวโพด ข้าวฟ่าง

ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบเมื่อมีอายุ 25-30 วัน

พืชผัก ชนิดต่าง ๆ

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้ได้กับมะเขือเทศ แตงโม พริก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง มันเทศ และพืชผักทุกชนิด
โดย แบ่งอัตราการใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อต้นพืชอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม ครั้งที่สองใช้หลังหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม

ข้อควรระวังของการใช้ปุ๋ยยูเรีย (urea usage caution)

การใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง รากพืชชอนไชหาอาหารได้ไม่ดี ทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ดินเค็ม

ถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก จะทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม มีใบเพิ่มผิดปกติ อาจทำให้พืชเฉาและตายได้ (น็อคปุ๋ย) ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในกรณีต้นข้าว จะได้ข้าวเมล็ดเล็กลีบกว่าปกติ ทำให้ต้นพืชอ่อนแอไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่าย เช่น โรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา ที่เคยระบาดในจังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อันเนื่องมาจากใช้ปุ๋ยยูเรียปริมาณสูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นข้าวอวบ ใบข้าวอวบ แต่เปราะและอ่อนแอ ติดโรคไหม้ข้าวได้ง่าย

เคยมีผลสำรวจการใช้ปุ๋ยยูเรียจากทางการ ปรากฏว่าเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินความจำเป็น เพราะคิดว่ายิ่งใส่ปุ๋ยปริมาณมาก จะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากตาม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนอกจากปุ๋ยส่วนเกินที่พืชไม่ได้ดูดซึมไปใช้แล้ว ทำให้ปุ๋ยตกค้าง และเป็นผลเสียต่อดินในระยะยาว และเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องศึกษาลักษณะของดิน เคมีของดิน ปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน ก่อนการเพาะปลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย ๆ จากประสบการณ์ ควรส่งดินไปตรวจสอบที่หน่วยเกษตรเป็นระยะ เพื่อจะได้รู้ปริมาณปุ๋ยและแร่ธาตุในดิน เพื่อจะได้เลือกประเภทปุ๋ย และสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี

อย่างไรก็ได้ได้มีผลการวิจัย สรุปว่าการใช้แต่ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว กลับจะทำให้โครงสร้างดิน สมดุลของดินเสีย ตลอดจนได้ผลผลิตปริมาณต่ำ ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กันไปด้วยในสัดส่วนที่เหมาะสม

ข้อมูลเพิ่มเติมการใช้ปุ๋ยยูเรีย

ถ้าไม่แน่ใจวิธีการใช้ปุ๋ย สามารถขอข้อมูลได้ที่ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือสอบถามเบื้องต้นได้ที่ Thaifertilizer ฝ่ายวิชาการของเรา พร้อมที่จะให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการใช้ปุ๋ยแก่ท่าน


วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ขายขี้ไก่อัดเม็ด กระสอบละ 50 ก.ก. จัดส่งรัศมี 100 กิโลเมตรฟรี




ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com


รายชื่อมูลสัตว์
    ไนโตรเจน           
ฟอสฟอรัส             
           โปแตสเซียม
ขี้วัว                   
0.32-1.2         
0.21-0.39           
0.16-3.10
ขี้หมู                   
0.6-2.2           
0.23-0.46           
0.44-1.33
ขี้ไก่                   
1.2-4.9           
0.7-4.1               
0.47-3.50
ขี้ค้างคาว             
0.1-2.9           
0.26-16.0           
0.33-18.3

       หน่วยของค่าดังกล่าว คือ %/W  (เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนัก)  ก็แสดงให้เห็นว่าสำหรับไนโตรเจนแล้วมีมากในขี้ไก่  ฟอสฟอรัสมีมากในขี้ค้างคาว  และโปแตสเซียมก็มีมากในขี้ค้างคาวเช่นเดียวกันครับ    ขี้ไก่ ต้องหมัก ให้หายร้อนก่อนนะครับ ก่อนจะเอาไปใช้งาน  ขี้วัวทุ่ง ก็ ต้องหมัก เพื่อกำจัดเมล็ดวัชพืชครับ
     ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไป
     มูลค้างคาวเขาว่าเป็นราชาแห่งปุ๋ย แต่มูลของมนุษย์น่าจะนับได้ว่าเป็นจักรพรรดิแห่งปุ๋ยเพราะมนุษย์ สวาปามทุกอย่าง หลากหลายกว่า สัตว์ใดๆทั้งปวงจริงเท็จประการใดมิทราบยังไม่เคยเห็นข้อมูล ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ในมูลมนุษย์เลยครับ
พิจารณาจากอาหารที่กิน
วัวกินหญ้าอย่างเดียว
หมูกินรำที่อุดมด้วยวิตามิน
ไก่กินเมล็ดข้าว เมล็ดพืช รำ แมลงและ พืชบางชนิด  ช้างกินหญ้ากินใบไม้ ยกเว้นช้างเร่ร่อนอาจจะได้กินกล้วยบ้างหรือช้างป่าอาจจะได้กินสับปะรดช้างไม่เคี้ยวเอื้องมูลช้างจึงมีเนื้อหยาบไม่ละเอียดเหมือนมูลควายม้าก็ไม่เคี้ยวเอื้อง มูล ละเอียดกว่ามูลช้างนิดหน่อย
 


วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ออนคอล 3จี 15กก. กำจัดแมลงบั่ว แมลงสิง หนอนกอในนาข้าว

ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com


ออนคอล 3จี 15กก.
 
  • ราคาพิเศษ : 560.00 ฿
  • ยี่ห้อ : บ.ที.เจ.ซ๊ เคมี จำกัด
  • สินค้ามีรายการพิเศษ 50กส./100กส. กรุณาโทรสอบถามราคาพิเศษสุดๆ

    ออนคอล 3 จี ชื่อสามัญ : เบนฟูราคาร์บ ( benfuracarb )..............3 % GR

    กลุ่มสารเคมี : Carbamate ผลิตภัณฑ์ของ : Otsuka Chemical Co.,Ltd.

    ประโยชน์ :
    เป็นสารเบนฟูราคาร์บชนิดเม็ดหว่านหรือรองก้นหลุม ในข้าว อ้อย ถั่วเหลือง มะเขือเทศ ข้าวโพด ยาสูบ พืชตระกูลแตง ผักต่าง ๆ สำหรับกำจัดหนอนกออ้อย แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยไฟแตงโม หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย แมลงบั่ว แมลงปีกแข็งต่าง ๆ อัตราและวิธีการใช้ : ใช้ 3-5 กรัม สำหรับรองก้นหลุม ก่อนการย้ายกล้าปลูก หรือหยอดเมล็ด หรือใช้ 4-6 กก. ต่อไร่ สำหรับการหว่าน เมื่อพบการระบาด
    ขนาดบรรจุ : 15 กิโลกรัม