วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เพลนั่ม50WGบริษัทซินเจนทาครอปโปรเทคชั่นจำกัดVSแซมพลาสบริษัท ดาว อะโกรไซแอนส์(ประเทศไทย)จำกัดกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว


 (อัพเดตคลิปทุกวันเกษตรกรทำแล้วอยู่รอด)ดูวีดิโอระบบ HD 1080 ใช้แว่นตา 3D : https://goo.gl/ABu4OS
 กลุ่มยากำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือยากำจัดหนอนกอหนอนม้วนใบใช้ยาอเมริกาทั้งหมด  
    ฉะนั้นยาเคมีเราใช้ระดับอเมริกามาทำตลาด บริการยาวๆ นานๆ กลุ่มลูกค้าชัดเจนและบอกต่อ จนฐานลูกค้าทั่วประเทศไทยเยอะทวีคูณ  
 ด้วยองค์ความรู้เลือกสินค้ามาทำตลาดแบบเข้าใจเหตุการณ์ ณ.ปัจจุบัน หญ้าดื้อ /หนอนดื้อ/เพลี้ยดื้อ  ชาวบ้านเข้าชมเพจ/บล็อกเกอร์หรือไลน์ติดต่อเข้าวันละ 20รายโดยเฉลี่ย
 (อัพเดตคลิปทุกวันเกษตรกรทำแล้วอยู่รอด)ดูวีดิโอระบบ HD 1080 ใช้แว่นตา 3D : https://goo.gl/ABu4OS

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

จ่าย3หมื่นบาท/ครัวเรือน แลกชาวนาเลิกปลูกข้าว,รัฐหนุนชาวนา หันมาเลี้ยงโค-กระบือ ให้สินเชื่อผ่าน ธ.ก.ส. ร้อยละ 5 ต่อปี

กรมชลประทานคาดการณ์น้ำใช้การได้จริง 4 เขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยาปีนี้เพิ่มเท่าตัวจากปีที่แล้วเป็น 8,500 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ชาวนาปลูกข้าวนาปีไปแล้ว 48 ล้านไร่ ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาชี้จะมีพายุเข้าไทยอย่างน้อย 2 ลูก เผย "ลานิญา" อ่อนกำลังลง แต่ฝนปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปกติถึงสูง

รายงานข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆนี้ สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืนได้จัดเสวนา "สถานการณ์และแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และการนำความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรผู้นำด้านการบริหารจัดการน้ำไปประยุกต์ ใช้" ขึ้น โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ว่า ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำใน 4 เขื่อนใหญ่มีปริมาณน้ำใช้การได้จริงประมาณ 2,800 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มีประมาณ 1,000 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าเดิม 1,800 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 1 พ.ย. 2558 ปริมาณน้ำใช้การได้จริง 4 เขื่อนใหญ่อยู่ที่ 4,247 ล้าน ลบ.ม. เมื่อดูจากโอกาสที่จะมีพายุเข้าในปลายเดือน ส.ค.นี้ ในภาคเหนือ วันที่ 1 พ.ย. 2559 จึงคาดว่าจะมีปริมาณน้ำใช้การได้จริงมากกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา 1 เท่าตัว หรือประมาณ 8,500 ล้าน ลบ.ม.


ส่วนวิธีการจัดสรรน้ำดังกล่าว จะใช้ในการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศหรือขับไล่น้ำเค็ม ประมาณ 2,500 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรให้ภาคเกษตร 700 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณ 3,200 ล้าน ลบ.ม. ต้องสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนปีหน้า หรือ 1 พ.ค. 2560 เป็นต้นไปประมาณ 1,700 ล้าน ลบ.ม. และหากฤดูฝนปีหน้ามาล่าช้าจะต้องสำรองไว้อีก 2,000 ล้าน ลบ.ม. รวมแล้วต้องสำรองทั้งหมด 7,000 ล้าน ลบ.ม.

ทางด้านการเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ดร.ทองเปลวกล่าวว่า กรมชลประทานได้เพิ่มปริมาณความจุในการกักเก็บน้ำในเขื่อนลำปาวแล้วจาก 1,400 ล้าน ลบ.ม. เป็น 1,900 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำสียัด เขื่อนลำพระเพลิง วิธีการเพิ่มได้แก่ การเสริมทางน้ำไหลหรือสปิลเวย์ให้สูงขึ้น เป็นต้น

สำหรับข้าวนาปีปีการผลิตนี้ พล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพื้นที่ปลูก 54.8 ล้านไร่

ซึ่งจะได้ปริมาณข้าวเปลือก 23 ล้านตัน ขณะนี้ปลูกแล้ว 48 ล้านไร่ นาปรังหรือการปลูกข้าวรอบ 2 ทั่วประเทศอีก 7.4 ล้านไร่ จะได้ผลผลิตข้าวเปลือก 4 ล้านตัน เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ 2 ล้านตัน จากที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดปริมาณการปลูกข้าวต่อปีไว้ไม่เกิน 25 ล้านตัน

นายสงกรานต์ อักษร
 รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอตามเกณฑ์ที่คาดไว้ แต่ฝนที่ตกจนถึงปัจจุบันใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทุกภาค ปีนี้ภาคตะวันตกลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียไม่แรงพอที่จะข้ามเทือกเขาที่กั้น ระหว่างไทยกับเมียนมา เหมือนเมื่อช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขน้ำในเขื่อนภูมิพลจึงไม่สวย ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ได้รับอานิสงส์จากลมมรสุมค่อนข้างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพายุจรยังไม่เข้ามา 

แต่อย่างน้อยคาดว่าจะมี 2 ลูก เข้ามาในปลายเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ ที่คาดว่าจะเข้าไทยตั้งแต่เดือน มิ.ย. แต่ล่าช้าออกไป คาดว่าจะเกิดขึ้นไม่เกินเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญว่าจะทำให้ฝนตกในไทยเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งขณะนี้กรมอุตุฯจับตามองพายุที่ก่อตัวฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์อยู่

"สถานการณ์เอลนิโญได้ลดลงแล้ว ส่วนลานิญาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. ขณะนี้ได้อ่อนกำลังลง ดังนั้นสถานการณ์ฝนที่จะตกชุกมากใน 2 เดือนข้างหน้าจะเริ่มน้อยลงในเดือน ต.ค.นี้ แต่โดยสรุปฝนในปีนี้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปกติถึงสูง"

ขณะเดียวกัน นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาน้ำทั้งวิกฤตภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญระดับประเทศที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนทั้งภาค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคประชาชน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐได้พยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาคที่เกี่ยวข้อง 

ฉะนั้นการแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้การกำกับของ ส.อ.ท. จึงได้จัดหลักสูตรผู้นำด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำขึ้น รวมแล้วผ่านหลักสูตรทั้งหมด 97 คน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชนภาคอุตสาหกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำของประเทศอย่างยั่งยืน


เคดิตเนื้อข่าว+ที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1471718742

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เคล็ดลับการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างได้ผลดีคือ หยดรากและพ่นทางใบข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (อังกฤษ:Brown planthopper;ชื่อวิทยาศาสตร์: Nilaparvata lugens (Stal) ) เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าวโดยดูดน้ำเลี้ยงข้าวจนทำให้ข้าวแห้งตาย และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก
ลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรสีน้ำตาล มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form)
ท่านผู้ชมดูคลิปด้านล่างนี้ได้   เกษตรกรประทับจริงๆ   /  ดูวีดิโอHD1080 3D : https://goo.gl/ABu4OS



วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การปลูกอ้อยและวิธีการเพิ่มผลผลิตอ้อย,การใส่ปุ๋ยอ้อยให้ได้ผลผลิตสูง30ตันต่อไร่

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเรื่อง อ้อยทุกสายพันธุ์”: https://goo.gl/ifoCSY
ติดต่อเพจทางกล่องข้อความคลิกที่นี่ : https://goo.gl/6wr0hp
ดูวีดิโอHD1080 3D : https://goo.gl/ABu4OS
 อ้อยถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกประมาณ 6.5 ล้านไร่ ซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 70 ล้านตันต่อปี สามารถนำไปผลิตน้ำตาลได้ปีละประมาณ 7 ล้านตัน โดย 2 ล้านตัน ใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศ และ 5 ล้านตัน ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
       
       ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสองของโลกรองจากประเทศบราซิล แต่ยังถือว่าประเทศเรามีผลผลิตด้วยประสิทธิภาพต่ำ และต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง คือมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ตันต่อไร่ ค่าความหวานอยู่ในระดับ 11-12 ซีซีเอส ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของกลุ่มผู้ผลิตอันดับต้นของโลก เช่น บราซิล ออสเตรเลีย จีน อินเดียฯ อยู่ที่ 13-15 ตันต่อไร่ และค่าความหวานอยู่ที่ 13-15 ซีซีเอส