วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

4จี แพ็คโกร ปราบหนอนกอ

ชื่อการค้า   แพ็คโกร 4 จี
ชื่อสามัญ คาร์แทป ไฮโดรคลอร์ไรด์ (Cartap hydrochloride)
เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์  4%  GR
กลุ่มสารเคมี Nereistoxin analogue
สารสำคัญ S,S'-(2-dimethylaminotrimethylene) bis              
(thiocarbamete) hydrochloride
คุณสมบัติ ออกฤทธิ์ป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในฝ้าย 
แมลงศัตรูข้าว หนอนกอ หนอนม้วนใบ 
หนอนกอสีชมพู
ความเป็นพิษ       - 
ข้อเสนอแนะ ควรใช้สารเคมีด้วยความระมัดระวัง 
ขนาดบรรจุภัณฑ์ 15 กก./กระสอบ

ประโยชน์และวิธีการใช้

 

แหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆ ชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ใต้ผิวน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงินที่สามารถตรึง ไนโตรเจนได้แหนแดงถูกใช้เป็นปุ๋ยในนาข้าว และใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น สุกร เป็ด และห่าน เนื่องจากแหนแดงมีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบอยู่มาก และมีกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ในปริมาณที่สูงพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของปลา จึงเหมาะที่จะเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย

ประโยชน์ของแหนแดง : 
แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพเนื่องจากในใบของแหนแดงมีสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงิน ( blue green algae ) ชื่อ Anabaena azollae อาศัยอยู่โดยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันกับแหนแดงแบบพึ่งพาอาศัยกัน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ความสัมพันธ์นี้ ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ และมีศักยภาพสูงที่สามารถนำมาใช้ในระบบเกษตรพอเพียง เพื่อร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวเป็นอย่างดี
การขยายพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ 
1. การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
2. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์สืบพันธุ์เพศผู้ และเพศเมีย
สายพันธุ์ของแหนแดง : ที่ใช้ในนาข้าว
1. Azolla filiculoides
2. Azolla pinnata
3. Azolla critata
4. Azolla rubra
5. Azolla nilotica
วิธีการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์
1. เลี้ยงในบ่อดินโคลน กระถาง และซีเมนต์ (คล้ายกับการเลี้ยงบัว) 
2. เลี้ยงในบ่อธรรมชาติ โดยเลี้ยงในกระชัง
3. เลี้ยงในแปลงโดยตรง

การใช้แหนแดงเป็นอาหารสัตว์
การเลี้ยงแหนแดงไม่ยุ่งยากมากนักถ้าทำให้ถูกวิธี โดยเริ่มแรกจะทำการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ก่อนในถังซีเมนต์ หรือกระถางปลูกบัว ทำการใส่ดินประมาณ1/2 ของกระถาง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกประมาณ 500 กรัมต่อดิน 10 กิโลกรัม แล้วเติมน้ำให้ทั่วผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร วางไว้ที่ร่มรับแสงประมาณ 50% อย่าให้อยู่กลางแดด เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มผิวของกระถาง สามารถนำไปขยายต่อในบ่อดินที่มีระดับน้ำ 10 – 20 เซนติเมตร เมื่อต้องการใช้ปุ๋ยในนาข้าว จึงนำไปขยายต่อในนาข้าวที่เตรียมก่อนปักดำข้าว ปล่อยแหนแดงประมาณ 10% ของพื้นที่ แหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่ภายใน 15 – 30 วัน หลังจากทำการคลาดกลบแล้วทำการปักดำข้าวได้ทันที แหนแดงบางส่วนจะลอยอยู่บนผิวน้ำ หลังจากปักดำข้าวควรจะปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไป เพราะแหนแดงที่เจริญเติบโตในนาข้าวสามารถเป็นอาหารปลาได้ดีมากเนื่องจากมี โปรตีนสูง จึงสามารถนำปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปล่อยลงไปได้ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม จากปลาที่ปล่อยไป และมูลปลาในนาข้าวก็เป็นปุ๋ยให้แก่ข้าวเช่นกัน จึงทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น และให้ปลามากกว่าที่เลี้ยงโดยไม่มีแหนแดง

การใช้แหนแดงในนาข้าว :
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงในพื้นที่ 20 -25 ตารางเมตร เพื่อใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในน่าข้าวให้ลึก 5 – 10 เซนติเมตร
3. ใช้แหนแดงในอัตรา 50 – 100 กิโลกรัม/ไร่ ในวันที่ใส่แหนแดงควรมีการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสอัตรา 3 กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์อีกครั้งเมื่อแหนแดงมีอายุ 7 – 10 วัน

แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักเหมือนพืชสีเขียวชนิดอื่นๆ ยกเว้นไนโตรเจน รวมทั้งต้องการธาตุอาหารรองในการเจริญเติบโตด้วยในดินนาทั่วไปฟอสฟอรัสมี ความจำเป็นต่อแหนแดงมาก ถ้าปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ำเกินไป จะส่งผลให้การเจริญเติบโต และปริมาณการตรึงไนโตรเจนลดลง

ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของแหนแดง ( % ต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง ) 
ไนโตรเจน ( % ) ฟอสฟอรัส ( % ) โปแตสเซียม ( % ) 
ปริมาณไนโตรเจนที่ได้จากแหนแดงแต่ละช่วงอายุ ลักษณะการใช้แหนแดง ปริมาณไนโตรเจน
(กิโลกรัม/ไร่) 

1. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 20 วัน แล้วทำการไถ่กลบ
2. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 30 วัน แล้วทำการไถ่กลบ
3. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน
4. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน 
9 – 17 
12 – 25 
7 – 15 
12 – 20

ข้อสังเกต :
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ
2. แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก
3. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ
4. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางกำจัดหญ้าดอกขาว 20วัน ถึง 60วัน


ชนิดวัชพืช ประกอบด้วยวัชพืชทั้งประเภทใบกว้าง กก อาลจี และเฟินเป็นส่วนมาก และมีวัชพืชประเภทใบแคบ บ้าง
ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาด หญ้านกสีชมพู หญ้าไซ หญ้าปล้องหิน
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด ผักปอดนา ตาลปัตรฤาษี เทียนนา ผักตับเต่า ห้วยชินสีห์
ประเภทกก เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย แห้วหมูนา แห้วทรงกระเทียมเล็ก ก้ามกุ้ง

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขี้แพะปราบหนูนาอาละวาดได้จริง

ขี้แพะสู้หนูได้ชัวร์!!!


   รัศมี 80 ก.ม.จัดส่งโดยวัดพิกัดด้วย GPS

ขี้แพะผสม A-100 + ไซเปอร์ 35% ไล่ได้จริงๆ –ฆ่าหนูได้จริงๆ  หนูมีระบาดที่ไหน เรียกใช้บริการได้ "ลองเลยไหมค่ะ"  แล้วจะติดใจผลงาน

 
ให้อาหาร 2ทาง ดีกว่า ทางเดียว

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ข่าวดี การกำจัดหญ้าหนวดปลาดุก เทียนนา ผักปอดนา แห้วหมู กกทราย กกขนาด



      การจำแนกชนิดของวัชพืชนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้วางแผนการป้องกันและกำจัดให้ถูกวิธีและถูกเวลา ทั้งนี้สามารถจำแนกวัชพืชเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้
        1.วัชพืชใบแคบ (หรือวัชพืชตระกูลหญ้า) เช่นหญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง หญ้าดอกขาว
        2.วัชพืชใบกว้าง มีลักษณะเป็นพวกพืชใบเลี้ยงคู่ ใบกว้าง เช่น ผักปอดนา ผักบุ้ง เทียนนา
        3.วัชพืชตระกูลกก ลักษณะทรงต้นคล้ายหญ้า แต่ลำต้นไม่มีข้อ ไม่มีปล้อง ลำต้นเป็นหลอด หรือรูปสามเหลี่ยม ได้แก่ กกทราย กกสามเหลี่ยม กกขนาก หนวดปลาดุก
        4.วัชพืชประเภทเฟิร์น ไม่มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยส่วนของลำต้น และอับเรณู เช่น ผักแว่น ผักกูดนา
        5.วัชพืชประเภทสาหร่าย เป็นพืชชั้นต่ำ ราก ลำต้นและใบไม่แตกต่างกัน เช่น สาหร่ายไฟ        
        ชนิดของวัชพืชที่ชอบขึ้นในนาข้าวที่ปลูกด้วยวิธีต่างๆ
        -นาปักดำ : หญ้าข้าวนก ผักปอดนา ขาเขียด ผักตับเต่า เทียนนา กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น สาหร่ายไฟ
        -นาหว่านน้ำตม : หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง ผักปอดนา ขาเขียด กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น
        -นาหว่านข้าวแห้ง : หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง หญ้าหางหมา หญ้ากุศลา ผักปราบนา ผักบุ้ง เซ่งใบยาว เซ่งใบมน โสน กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก