วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สาเหตุข้าวเมาซัง,โรคเมาตอซัง (Akiochi)

www.0879181778.blogspot.com,ป.เคมีภัณฑ์ ณ.สิงห์บุรี






  จากสภาวะปัจจุบันที่ข้าวมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังในหน้าแล้งกันมากขึ้น ซึ่งทำให้มีการพักแปลงนากันน้อยมาก จากปัจจัยของการปลูกข้าวในหน้าแล้งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติและไม่มีการพัก นา จะทำให้เกษตรกรบางพื่นที่
    ประสบปัญหาของโรคเมาตอซัง (Akiochi) ลักษณะอาการของโรคจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน , ต้นแคระแกร็น , ใบเหลืองซีด เริ่มจากด้านล่าง มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาลปนด้วย พบในขณะที่ขบวนการย่อยสลายขอซังข่าวในนาไม่
    สมบูรณ์ทำให้เกิดสารซัล ไฟต์ โดยเฉพาะในช่วงแล้งอุณหภูมิของน้ำสูง สภาวะดังกล่าวจะทำให้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีปริมาณน้อย ทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะลดปริมาณซัลไฟด์ที่เกิดขึ์นไปทำลายรากข้าวจน เน่าดำ ไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ การป้องกันโรคดังกล่าวสามารถทำได้โดย
    ระบายน้ำเสียออกจากแปลงนาทิ้ง ไว้ให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศแล้วค่อยสูบน้ำเข้าแปลงใหม่ หลังเก็บเกี่ยวควรทิ้งแปลงเพื่อพักดินไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วค่อยไถพรวนเพื่อหมักตอซังและรอการสลายตัวประมาณ 2 สัปดาห์ ระหว่างนี้ไม่ควรให้ระดับน้ำอยู่สูงเกินไปควรให้มีการไหลเวียนของน้ำอยู่ เสมอ
        การใช้จุลินทรีย์เพื่อช่วยในการย่อยสลายตอซังเป้นทางเลือกอีกทางหนึ่งของ เกษตรกร จุลินทรีย์มีข้อดีคือช่วยทำให้เวลาในการย่อยสลายเร็วขึ้นและลดปัญหาของ ซัลไฟด์ แต่ต้องเลือกใช้จุลินทรีย์ให้ถูกประเภท โดยจุลินทรีย ์ที่เหมาะสมสำหรับในพื้นที่นาควรเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เจริญได้ดีในสภาวะ ที่ใช้ออกซิเจนไม่สูงมากเนื่องจากแปลงนามักจะอยู่ในสภาพที่มีน้ำขังทำให้มี ปริมาณของออกซิเจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในอากาศและสามารถออกซิไดซืซัลไฟด์ไป เป็นซัลเฟอร์ได้ จุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ซึ่งมีอยู่ 4 ตระกูล แต่ตระกูลที่มีการนำมาใช้ในนาข้าวได้แก่ตระกูล โรโดสไปริลลาซี (Rhodospirllaceae) แบคทีเรียกลุ่มนี้ นอกจากจะใช้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นตัวอิเล็กตรอน ทำให้ซัลไฟด์เปลี่ยนเป็นซัลเฟอร์แล้วยังสามารถผลิตฮอนโมนที่เป็นประโยชน์ต่อ พืชได้แก่ ไซโตไคนิน (Cytokinin) , ซีเอติน (Zeatin) , ออกซิน (Auxin) , กรดอินโดล -3- อะซิติก (Indole-3-acetic acid : IAA) และ กรดอินโดล -3- บิวทีริก (Indole-3-butyric acid : IBA) ซึ่งฮอนโมนทั้งสองชนิดนี้มีส่วนช่วยทำให้รากข้าวเจริญได้ดี การใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงในนาข้าวจะทำให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เปลี่ยนไปอยู่ ในรูปสารประกอบซัลไฟด์ที่ไม่เป็นพิษต่อรากข้าวทำให้รากเจริญได้ดีสามารถดูด ซึมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อระบบรากดี ทำให้ต้นข้าวมีความแข็งแรงสามารต้านทานโรคและแมลงได้ดีขึ้นแล้วยังช่วยลดการ ใช้สารเคมีในการควบคุมโรคพืชอีกด้วย ซึ่งเป็นการคืนชีวิตให้กับดินตามแนวทางการเกษตรอินทรีย์อีกวิธี หนึ่ง   ปัจจุบันบริษัท ซิตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผลิตแบคทีเรียสังเคราะห์แสง ชื่อทางการค้า โรโดฟอส (RHODOPHOS) เป็นแบคทีเรียสังเคราะห์ที่ผลิตจากกระบวนการหมักโดยใช้ถังหมัก (fermentor)ในสภาวะปลอดเชื้อ ทำให้ผลิตภัณฑที่ได้มีความบริสุทธิ์ของเชื้อ ไม่มีการปนเปื้อนเชื้อชนิดอื่น ผลของการใช้ โรโดฟอส ได้รับการพิสูจน์แล้วจากเกษตรกรชาวนาในเขตภาคกลางพบว่าการใช้ โรโดฟอส ในระหว่างการเตรียมแปลงอัตรา 1 ลิตร ต่อพื้นที่นา 1 ไร่ ช่วยทำให้ ข้าวแตกกอดีต้นแข็งแรง รวงข้าวยาวใหญ่ เมล็ดเต่ง ทำให้เมล็ดข้าวลีบน้อยลงน้ำหนักดี ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20-30% อีกทั้งช่วยลการใช้สารควบคุมศัตรูพืชในกรณีต้องการย่อยตอซังในช่วงระยะ เตรียมแปลง โรโดฟอส ก็สามารถ ช่วยย่อยสลายตอซังได้ดีเช่นกัน