ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):
http://www.organicricesingburi.blogspot.com
ข้าวไม่ออกรวง ข้าวไม่กินปุ๋ย ข้าวใบเหลือง ใบส้ม ใบไหม้
ข้าวไม่ออกรวง ปัญหา ที่พบกับเกษตรกรชาวนาปลูกข้าวไม่ออกรวงตามฤดูกาลนั้นมีหลายสาเหตุที่เกิดจาก ความสมบูรณ์ของต้นข้าว ประเพณีแต่โบราณที่มีมานานซึ่งระยะข้าวออกรวงสำหรับการปลูกข้าวนาปีนั้น เรียกว่าการทำขวัญข้าว จะทำกันในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน การทำขวัญข้าวเป็นการบูชาพระแม่โภสพ เป็นประเพณีแต่โบราณตามความเชื่อเพื่อบำรุงขวัญของชาวนาให้ได้ผลผลิตให้ข้าว ได้ออกรวงตามฤดูกาล เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนในการทำนาปลอดภัยต่อโรคและแมลงหนอนกินต้นข้าว จะทำกันในช่วงระยะที่ข้าวกำลังตั้งท้องเพื่อออกรวง
ปุ๋ยเพิ่มแป้งเม็ดข้าว,ปุ๋ยเร่งออกรวงข้าว,การใช้ปุ๋ยใบข้าว,ปุ๋ยนาโนชีวภาพ,ปุ๋ยเร่งข้าวเต่ง,ฉีดพ่นนาโน,อีเขียวปุ๋ย ใน ยุคปัจจุบันนี้ วิทยาการได้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้ความเชื่อแบบโบราณได้เริ่มหมดไป แต่ยังเหลือไว้ในการทำเพื่อเป็นประเพณี ให้ลูกหลานได้ดู เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญา และการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ด้วยการถูกค้นพบว่า การที่ข้าวไม่ออกรวงนั้น มีสาเหตุหลายสาเหตุด้วยกัน สิ่งที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ข้าวไม่ออกรวงตามฤดูกาลนั้น เกิดจาก การขาดธาตุอาหารที่เพียงพอเพื่อจะนำไปใช้ในการออกผลผลิตนั่นเอง และสาเหตุรองที่ทำให้ต้นข้าวไม่รับปุ๋ย ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ อากาศหนาวจัด น้ำเย็นจัด และพื้นดินมีความแน่นรากพืชไม่สามารถเดินได้
ปัจจัยหรือสาเหตุที่ข้าวไม่ออกรวง มีสาเหตุใหญ่ ๆ ที่พอสังเกตุได้ดังนี้
1. ความสมบูรณ์ของข้าว ต้น ข้าวที่มีความสมบูรณ์พอและพร้อมที่จะออกรวงเกิดจากต้นข้าวได้มีการสะสมอาหาร ไว้เพื่อการออกรวงและผสมเกสรสร้างแป้งเมล็ดข้าว ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาแต่ละช่วง ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม การที่ข้าวไม่สมบูรณ์ของต้นข้าวเกิดจากข้าวไม่ได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ข้าวไม่กินปุ๋ย อาจเกิดจากสภาพดินที่เสื่อมระบบรากของต้นข้าวไม่สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ ดินเป็นกรดด่างมากเกินไป หรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อากาศหนาวจัด หรือร้อนจัด
บังคับรวงข้าว,ทำให้ข้าวออกรวง,ป้องกันข้าวรีบ,สาเหตุข้าวเมล็ดรีบ,ข้าวก้ม,ข้าวค้อม,ข้าวงวย,ข้าวงัน,ข้าวเหลือง 2.โรคข้าว ที่ เกิดจากไวรัส หรือเชื้อรา หรือที่เรียกว่าข้าวป่วย ข้าวงัน อาจเกิดจากการระบาดของแมลงศัตรูข้าวที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ไว้รัสที่เกิดจากเพลี้ยจะทำให้ข้าวแคระแกรน โรคจู๋ โรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบจุด โรคใบไม้ เป็นต้น
ปุ๋ยเว่อ,ปุ๋ยเม็ดนาโน,ปุ๋ยนาโนพ่นใบ,เทคนิคการทำข้าวออกรวง,ทำข้าวแตกกอ,นาข้าวอุบุลราชธานี,ปุ๋ยข้าวดีรวงดี 3. พันธุ์ข้าว ใน บางครั้งที่พบเกี่ยวกับปัญหาข้าวไม่ออกรวงที่เกิดจากความไม่รู้หรือความผิด พลาดในการเลือกพันธุ์ข้าวที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน ภูมิประเทศ และฤดูกาลปลูก ซึ่งยังผลให้ข้าวไม่ออกรวงตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งข้าวบางสายพันธุ์ที่เป็นข้าวนาปี ที่ต้องอาศัยน้ำฝน เพื่อให้ต้นข้าวได้รับ หรือระบบการรับแสงของข้าว
4. การใช้ปุ๋ย ในการใช้ปุ๋ยตามหลัก ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธีการ ดังนี้
4.1 .สูตรปุ๋ย ที่ใช้สำหรับนาข้าว ขึ้นอยู่กับสภาพสภาวะของดิน เช่น ดินเหนียว ดินร่วนเหนียว ควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ร่วมกับ ปุ๋ยไนโตเจน สูตร 46-0-0 ดินทราย และดินร่วนทราย ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับ ปุ๋ยไตเจน สูตร 46-0-0 เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามลักษณะของพันธุ์ข้าวที่เป็นส่วนประกอบ
4.2 อัตราการใช้ปุ๋ย ตามปกติ ควรใช้ปุ๋ย อัตรา 20-25 กก.ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ควรให้ 2-3 ครั้งก่อนข้าวออกรวง หรือดูตามลักษณะความสมบูรณ์ของสภาพดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมเร็ว
4.3 ช่วงเวลาของการใช้ปุ๋ย ควรเฉลี่ย ให้ระยะแต่ละช่วงให้เท่ากัน เช่นการให้ 2 ครั้งก่อนข้าวออกรวง ควรให้อยู่ในช่วงที่ข้าวเจริญเติบโต เป็นระยะแตกกอของต้นข้าว (ลำต้นข้าวแบน) เฉลี่ยช่วงเวลาให้เท่ากัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควรให้ในช่วยแรกของการเตรียมดิน เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์จะมีภาวะการตกตะกอนของธาตุที่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีควรให้ช่วงน้ำแห้งในนา
4.4 วิธีการใช้ปุ๋ย ปุ๋ยเคมี เป็นปุ่ยที่มีการตกตะกอนธาตุได้ดีกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปู่ยเคมีเม็ด หรือปุ๋ยอินทรีย์เม็ด ให้ปุ๋ยโดยการหว่านในพื้นที่นา สำหรับอาหารเสริมพืชควรใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ การใช้ปุ๋ยทางใบควรใช้ในช่วงเวลาเช้า (ช่วงปากใบเปิด หรือการใช้ปุ๋ยนาโนสามารถให้ได้ทุกช่วงเวลาแต่ควรให้ในช่วงเวลาแดดอ่อน)
ใส่ปุ๋ยแก้ข้าวไม่กินปุ๋ย,ข้าวไม่ออกรวงใช้แค็ปซูลนาโนฉีดพ่น,วายไอซีแค็ปซูลนาโน,ปุ๋ยโปแทสเซียม,ฟอสฟอรัสสูง 5.สภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนจัด หนาวจัด สำหรับปัญหาที่พบมากในฤดูหนาวสำหรับการปลูกข้าวนาปัง อายุข้าวไม่เกิน 120 วัน จะพบปัญหาที่ข้าวไม่ออกรวงเมื่อถึงเวลา เนื่องจากเจอกับสภาพหนาวจัด น้ำเย็นจัด ทำให้ต้นข้าวไม่กินปุ๋ย ต้นข้าวเริ่มเหลือง แต่ไม่ออกรวงข้าว การแก้ปัญหาเบื้องต้น ก่อนเข้าฤดูหนาว เมื่อคำนวณระยะเวลาออกรวงข้าวชนหนาว ให้ใส่ปุ๋ยก่อนเวลา และเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วหลังจาก 10-15 วัน ให้ดึงน้ำออกจนหมด เหลือไว้เพียงดินที่พอชุ่มชื้น และในระยะนี้ควรเปลี่ยนวิธีการให้ปุ๋ยทางใบแทนการให้ปุ่ยเคมีทางดิน เช่นอาหารพืช และฮอร์โมนเร่งการออกรวง
ข้าวไม่กินปุ๋ยข้าวป่วย วิธี การสังเกตุข้าวปุ๋ยรากข้าวไม่กินปุ๋ยแบบง่าย ๆ ให้ถอนต้นข้าว หรือทั้งกอขึ้นมาดู ให้วัดระยะความยาวของรากที่ถ่างออกให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางยาวที่สุด หากไม่ถึง 1 คืบ รากเป็นสีดำ แสดงว่าข้าวไม่กินปุ๋ย ขาดธาตุอาหารบำรุงต้นข้าว ไม่เจริญเติบโต ใบเริ่มเหลือง และแห้งตาย ควรใช้อาหารพืชทางใบฉีดพ่น เพื่อแก้ปัญหาข้าวไม่กินปุ๋ย ข้าวป่วย
พื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทยสามารถจำแนกลักษณะดินนา ได้3 ลักษณะ คือ ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินร่วนปนดินทราย ซึ่งทำให้วิธีการใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดินแตกต่างกันไปในดินนาแต่ละชนิด
-ดินเหนียว เป็นดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชนิดอื่นๆ การวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักพบว่า ดินเหนียวมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมเพียงพอต่อความต้องการของข้าวแล้ว การใส่ปุ๋ยเคมีจึงแนะนำให้ใส่เพียงปุ๋ยไนโตรเจน (N) และปุ๋ย ฟอสฟอรัส (P) เท่านั้น
-ดินร่วนและดินทราย ลักษณะเนื้อดินหยาบกว่า และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ คำแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมี จึงให้ใส่ธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K)
-การปรับปรุงดิน สำหรับดินร่วนปนทราย และดินทราย ซึ่งเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ สมควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น สามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ก่อนจะทราบว่าระยะเวลาการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมของข้าวเป็นเมื่อไร เกษตรกรจะต้องเรียนรู้ขั้นตอน ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว และความต้องการอาหารของต้นข้าวแต่ละระยะการเจริญเติบโตก่อนดังนี้
1.ระยะข้าวงอก ถึงระยะกล้า หลังจากหว่านแล้ว ข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน
2.ระยะกล้า ต้นข้าวจะเริ่มใช้อาหารจากดิน โดยดูดธาตุอาหารผ่านราก คำแนะนำใส่ปุ๋ยให้ใส่ธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ให้ใส่พร้อมกัน
3.ระยะแตกกอ เป็นระยะที่ข้าวสร้างหน่อใหม่ หลังจากข้าวตั้งตัวได้ นาหว่านจะเห็นหน่อใหม่หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7-10 วัน นาปักดำ หลังข้าวตั้งตัวหรือหลังปักดำ 7-10 วัน ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) (อัตรา 5 – 7 กิโลกรัมต่อไร่) อีกครั้ง เพื่อให้ข้าวแตกหน่อใหม่ที่แข็งแรงและสมบูรณ์
4.ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน หรือ กำเนิดช่อดอก เป็นระยะที่สำคัญ ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 2 เดือน หรือ 60 วัน ข้าวจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อสร้างรวงให้สมบูรณ์แข็งแรง มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมาก แนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) (อัตรา 5 – 7 กิโลกรัมต่อไร่) อีกครั้ง
5.ระยะข้าวตั้งท้อง เป็นระยะที่ข้าวกำลังจะออกรวงนับวันหลังจากระยะสร้างรวงอ่อน 5-7 วัน ลำต้นข้าวจะเปลี่ยนจากลักษณะแบน เป็นต้นกลม อวบ ระยะนี้ โดยทั่วไปข้าวจะมีการสะสมอาหารไว้ในลำต้นของแต่ละหน่อแล้ว ต้นข้าวสามารถดึงธาตุอาหารมาใช้ในการเจริญเติบโตของรวงได้ บางครั้งสำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่มีการแตกกอมาก อาหารที่สะสมไว้อาจไม่เพียงพอ ระยะข้าวตั้งท้องแนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) (อัตรา 5 – 7 กิโลกรัมต่อไร่) อีกครั้ง
6.ระยะข้าวออกดอก เป็นระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ของต้นข้าว ซึ่งข้าวจะออกดอกก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ช่วงนี้นาจะต้องมีน้ำอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ข้าวสร้างเมล็ดให้เต็ม ระยะนี้ข้าวจะดึงอาหารที่สะสมอยู่ที่ใบแก่(ส่วนล่าง) มาใช้
7.ระยะเก็บเกี่ยว เป็นระยะที่ข้าวสุกแก่เต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เรียกว่าระยะพลับพลึง นับได้หลังจากข้าวออกดอกแล้ว 28-30 วัน สามารถสังเกตได้จาก รวงข้าวสามส่วนจากปลายรวงจะมีสีเหลืองฟางข้าว และที่โคนรวงยังมีสีเขียวอ่อนอยู่
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องใส่ระยะเตรียมดิน คือไถกลบลงในดินก่อนปลูกข้าว 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาปุ๋ยอินทรีย์ย่อยสลายลงในดินก่อนการหว่านข้าวหรือปักดำ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สำหรับปุ๋ยพืชสด แนะนำให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว หรือ โสน ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปลูกและไถกลบก่อนเตรียมดินปลูกข้าว
การใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ตามคำแนะนำ โดยใส่ปุ๋ยเคมีอัตราที่แนะนำ 2-3 ครั้ง ปุ๋ย P K ให้ใส่ทั้งหมดในการใส่ปุ๋ยครั้งแรก และปุ๋ย N ให้แบ่งใส่ 3 ครั้ง ที่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะสร้างรวงอ่อน หากจะมีการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 หลังจากข้าวสร้างรวงอ่อน ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกครั้งเมื่อสังเกตได้ว่าใบข้าวที่อยู่ใกล้ใบธงเริ่มมี สีเหลือง ลำต้นไม่แข็งแรงจึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเล็กน้อย
สำหรับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังจากข้าวออกดอกไม่แนะนำให้ปฏิบัติ เพราะจะทำให้ข้าวแก่ช้า เมล็ดอวบอ้วน การสีข้าวทำให้เมล็ดแตกหักได้ง่าย และอาจมีโรค หรือแมลงรบกวนได้ โรคที่เกิดที่เมล็ดอย่างหนึ่งคือโรคเมล็ดด่าง ทำให้ข้าวคุณภาพไม่ดี ราคาข้าวตกต่ำลง
การใส่ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องมีการจัดการที่ดีและเหมาะสม ดังนี้
1.รู้ขนาดของแปลงปลูกข้าวที่แน่นอน เพื่อการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่ถูกต้อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป
2.รู้จักเลือกชนิดปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่ใส่ให้เหมาะกับพันธุ์ข้าวและชนิดของดิน และใส่ตรงตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ
3.ปิดกั้นคันนาที่ล้อมรอบแปลงที่จะใส่ปุ๋ยให้เรียบร้อย ไม่ให้มีการไหลออกของน้ำในช่วงใส่ปุ๋ยเคมี จนกว่าจะใส่ปุ๋ยไปแล้ว 3-5 วัน
4.รักษาระดับน้ำในนาข้าวไม่ให้สูงมากนัก ให้ที่นามีระดับน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร เป็นระดับที่เหมาะสม
5.สำรวจและกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เพื่อไม่ให้วัชพืชขึ้นมาแย่งอาหารกับต้นข้าว โดยเฉพาะเมื่อต้นข้าวยังเล็ก
6.คำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้ถูกต้อง จะได้ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายปุ๋ยที่ใส่มากเกินไป หรือจะได้ใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับ ความต้องการของต้นข้าว